"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทรนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ค 2010 'เรียลไทม์' มาแรงแซงทุกโค้ง

 
เมื่อ “อินเทอร์เน็ต” กลายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ด้วยประโยชน์ในการติดต่อและเชื่อมโยงข้อมูลทั่วโลก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อินเทอร์เน็ตจะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ ในทางที่ผิด ขณะเดียวกัน ยังทำให้เกิดกระแส “โซเชียลเน็ตเวิร์คกิ้ง” (Social Networking) ฟีเวอร์ ทั้ง ไฮไฟว์ (Hi5) , มายสเปซ (MySpace) , เฟซบุ๊ค (Facebook) , ทวิตเตอร์ (Twitter) และ มัลติพลาย (Multiply) ที่เรียกว่าชิทแชทกันทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กระดับประถมถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน ด้วยจุดเด่นในการสื่อสารที่สะดวกสบายและฟีเจอร์ลูกเล่นต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์ดังกล่าวที่กล่าวข้างต้นได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก แต่สังคมออนไลน์ภายในปี 2552 ที่โดดเด่นและได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง ทั้งยังมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก คงหนีไม่พ้น 2 สังคมออนไลน์ชื่อดังอย่างเฟชบุ๊คและทวิตเตอร์
เว็บไซต์ “เฟซบุ๊ค” (www.facebook.com) ก่อตั้งโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เพื่อใช้งานเฉพาะนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2004 และขยายไปยังผู้ใช้ทั่วโลกเมื่อ 11 ก.ย. 2006 ด้วยรูปแบบและการใช้คล้ายกับไฮไฟว์ ให้เหล่าสมาชิกได้โพสต์ภาพถ่าย แสดงความคิดเห็น หรือเลือกเล่นสารพัดเกมได้ตามใจชอบ

ส่วน “ทวิตเตอร์” (www.twitter.com) เปิดให้บริการเมื่อ มี.ค. 2006 โดยบริษัท Obvious Corp สัญชาติอเมริกัน ด้วยการส่งข้อความที่ยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อบ่งบอกสถานะหรือสิ่งที่ตนเองกำลังกระทำ เสมือนการส่งเสียงร้องของนก เพื่อแจ้งข่าวสารแก่ผู้อื่นที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวของคุณ
จากจุดเด่นของคอนเทนต์ (Content) ที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา กลายเป็นมนต์เสน่ห์สำคัญที่ดึงดูดความสนใจ ชวนให้หลงใหลและติดตามความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เสมือนเป็นหนึ่งในภารกิจประจำวันที่ต้องดำเนิน จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ในประเทศไทยจะเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง โดยขณะนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊คทั่วโลกกว่า 350 ล้านราย แบ่งเป็นชาวไทยประมาณ 1.6 ล้านคน ส่วนจำนวนสมาชิกชาวทวิตเตอร์ในไทยนั้น คาดว่ามีทั้งสิ้นเพียง 3-4 หมื่นราย ขณะที่ ยอดผู้ใช้ทั่วโลกอยู่ที่ 18 ล้านคน

 

กระแสความนิยมและแนวโน้มการเติบโตที่ยังคงเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตและผู้ให้บริการหลากธุรกิจหันมาจับกระแสดังกล่าว พร้อมต่อยอดโอกาสทางธุรกิจของตน บ้างใช้เป็นช่องทางการทำตลาดหรือประชาสัมพันธ์ บ้างก็นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างจริงจัง จนทำให้แนวโน้มในปี 2010 มีความเป็นไปได้มาก ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คกิ้งชื่อดังเหล่านี้ จะถูกนำเสนอด้วยรูปแบบเรียลไทม์ (Real Time) อย่างแท้จริง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอย่างทันท่วงที ท่ามกลางความพร้อมของอุปกรณ์การสื่อสารและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค หรือแม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเทคโนโลยีเครือข่ายระบบ 3G ที่แม้ในวันนี้ประชาชนไทยจะยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับเทคโนโลยีล้ำหน้าอย่าง 3G อย่างแท้จริง แต่ต้องยอมรับว่า กระแสการตอบรับเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่า ไม่ว่าจะหยิบจับอุปกรณ์อะไร ก็จะต้องเห็นสัญลักษณ์ F และ T ปรากฏอยู่ร่ำไป

หากกล่าว ว่ากระแสเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ฟีเวอร์ เป็นกระแสต่อเนื่องก็คงจะไม่ผิดนัก ในเมื่อสังคมและโลกยังคงหมุนไปไม่สิ้นสุด เทคโนโลยีก็ถูกพัฒนาให้ทันสมัยและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้อย่าง ครบถ้วนและครอบคลุม แม้วันนี้ เราจะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของผู้อื่นผ่านสังคมออนไลน์ได้ตามใจนึก แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ แต่ละคนอาจมีดาวเทียมคอยจับสัญญาณและรายงานความเคลื่อนไหวได้ประหนึ่งถูก ถ่ายทอดสด ดังตาเห็น

http://www.thairath.co.th/content/tech/55748

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809/wordcamp-bangkok-2009-pool-party

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น