ผลวิจัย พบ เด็ก กทม.กว่า 90% เสี่ยงเจอความรุนแรงจากโทรศัพท์มือถือ เพราะส่วนใหญ่จะไว้ติดต่อกับคนแปลกหน้า ส่วนเด็กต่างจังหวัดยังขาดพื้นที่แสดงศักยภาพ วอนสังคมในชุมชนช่วยดูแลเพราะจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด
เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ ดร.เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความ รุนแรงในเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่า ทีมวิจัยได้ศึกษาหารูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็กและเยาวชน โดยศึกษาในพื้นที่ 10 ชุมชนจาก 8 จังหวัดประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นครปฐม บุรีรัมย์ นครราชสีมา เชียงใหม่ กระบี่และสุราษฎร์ธานี ซึ่งสถานการณ์โดยรวมพบเด็กมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในทุกพื้นที่ จำนวนเกินครึ่งของเยาวชนพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่อยู่รอบตัว และ 1 ใน 4 เป็นผู้กระทำความรุนแรงเอง รูปแบบมีทั้งการรีดไถ การข่มขู่เพื่อนด้วยวาจาหรืออาวุธ การชกต่อย ตบตี การยกพวกตีกันระหว่างกลุ่ม ระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างชั้นเรียน การทำร้ายร่างกายแฟน หรือข่มขืนแฟน
โดยเฉพาะใน กทม.พบเด็กกว่าร้อยละ 90 มีมือถือในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการติดต่อพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่เคยพบปะหน้าตา เป็นโลกการสื่อสารผ่านทางอากาศที่นำไปสู่ความรุนแรงหลากหลายรูปแบบ รวมถึงความรุนแรงทางเพศ ขณะที่เด็กต่างจังหวัดพบข้อจำกัดของระบบโรงเรียน พื้นที่ที่ทำให้เด็กไม่สามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
ดร.เพ็ญจันทร์ กล่าวต่อว่า การจัดการทางสังคมในชุมชนเพื่อป้องกัน ดูแล และแก้ไขปัญหา เป็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะกลไกที่ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหา และเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงตัวตนและศักยภาพ ส่วนครอบครัวแม้เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหา แต่ข้อจำกัดคือครอบครัวยังมีความอ่อนแอ และมุ่งเน้นแต่การหารายได้เลี้ยงปากท้อง กลุ่มที่เป็นหลักสำคัญที่แก้ปัญหาได้ดีกว่าคือ ผู้นำชุมชน วัด และโรงเรียน นอกจากนี้จะต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นวาระของแผนพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น สร้างความเข้าใจและตระหนักในปัญหาอย่างลึกซึ้ง การจัดให้มีพื้นที่ทางสังคมในทางบวกสำหรับเด็กและเยาวชน การมีโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เกาะเกี่ยวกัน การมีกลไกทางสังคม ระบบโรงเรียน ครอบครัวที่เฝ้าระวัง สอดส่องวิถีชีวิตทางสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิด.
--
http://www.prachataiboard1.info/board/id/50088
http://hotspotshield.com
http://99it.blogspot.com/p/blog-page_21.html
http://www.redshirtinternational.org
http://norporchorusa.com/html/media/npcusa_radios.html
http://www.unblockanything.com
http://www.youtube.com/watch?v=Dyw-L8JSE2U
http://sanamluang.tv
http://thaitvnews2.blogspot.com
http://112victims.org
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t1169.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น