"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

"ธนาคารเลือดฝรั่ง" รพ.หนองวัวซอต่อยอดงานวิจัยสร้างเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ


 
 “ธนาคารเลือดฝรั่ง” รพ.หนองวัวซอต่อยอดงานวิจัยสร้างเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ
ข่าววันที่ 15 กันยายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ
 

อำเภอ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นภูมิลำเนาที่มีหญิงไทยแต่งงานกับชาวต่างชาติมากที่สุดในประเทศ จากข้อมูลของสำนักทะเบียนอำเภอหนองวัวซอระบุว่าในปี 2549 มีการจดทะเบียนสมรสจำนวน 280 คู่ และในปี 2550 จำนวน 239 คู่ ซึ่งไม่รวมกับอีกหลายๆ คู่ที่ไม่ได้จดทะเบียน

จากการที่มีชาวต่างชาติมาอยู่ในท้องถิ่นมากขึ้นทุกปี โรงพยาบาลหนองวัวซอ จึงได้จัดทำ การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องผลกระทบของหญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ เพื่อค้นหาปัจจัยและสาเหตุของการแต่งงาน ข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึงผลกระทบในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลจากการวิจัยดังกล่าวได้เกิดการพัฒนาในพื้นที่เป็น เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วนคือ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคราชการและการเมือง ร่วมกันดำเนินการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น สิทธิสตรีอีสานในสังคมไทยกรณีเมียฝรั่ง เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา การให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสมแก่หญิงไทยและสามีชาวต่างชาติ

ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าปัญหาที่หญิงไทยวิตกกังวลกันมากที่สุดก็คือ สุขภาพ ของสามีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะเรื่องของ กรุ๊ปเลือด กรณีเจ็บป่วยต้องการเลือดจะเกิดปัญหา เพราะกรุ๊ปเลือดของฝรั่งที่แตกต่างจากคนไทย

นพ.ทวีรัชต์ ศรีกุลวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองวัวซอ กล่าวว่า โดยปกติแล้วระบบเลือดจะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักคือเลือดกรุ๊ป A, B และ O ส่วนกลุ่มรองคือ Rh- และ Rh+ ซึ่งชาวต่างชาติจะพบว่ามีกรุ๊ปเลือดกลุ่ม Rh- มากถึงร้อยละ 20-30 ของประชากร ส่วนชาวไทยพบเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น ทางแก้ปัญหาคือ

โครงการธนาคารเลือดในตัวคน ซึ่งแต่เดิมโรงพยาบาลหนองวัวซอมีแนวคิดจัดทำ คลังเลือด ในชุมชนอยู่แล้ว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจึงนำเรื่องของเลือดกรุ๊ปพิเศษเหล่านี้ รวมเข้าไปด้วยโดยจะพัฒนาให้เป็นเครือข่ายระดับประเทศ

          ปัญหาระยะสั้นก็คือการหาเลือดกรุ๊ป Rh- ให้กับผู้ที่เสียเลือด ส่วนในระยะยาวก็คือหญิงไทยที่แต่งงานแล้วมีกรุ๊ปเลือดเป็น Rh+ ส่วนสามีเป็น Rh- เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมา ถ้าลูกมีเลือดเป็น Rh- เหมือน พ่อก็จะทำให้เลือดของลูกในท้องไม่เข้ากับแม่ จะทำให้เด็กมีปัญหาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในบ้านเราอาจจะมีปัญหาที่คุกคามต่อสุขภาพของคน ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นทางด้านโรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อเช่นโรคเรื้อนและวัณโรค โรคที่เกิดจากการใช้วิถีชีวิตที่ต่างกัน รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้เรายังมองไปถึงในอนาคตกรณีที่มีเด็กลูกครึ่งที่มีกรุ๊ปเลือดพิเศษ จำนวนมากขึ้น ซึ่งทางทีมงานของโรงพยาบาลมีแนวคิดที่จะการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือ นพ.ทวีรัชต์ระบุ

น.ส.มัลลิกา ลุนจักร์ หัวหน้ากลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลหนองวัวซอ เปิดเผยว่าจากการวิจัยในด้านปัญหาสุขภาพ พบว่าเรื่องกรุ๊ปเลือดเป็นปัญหาใหญ่ของชาวต่างชาติกับคนไทยที่แตกต่างกัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องให้เลือดจะมีปัญหามาก โดยเฉพาะถ้ามีกรุ๊ปเลือดเป็น Rh- ซึ่งเป็นเลือดที่หาได้ยาก ภรรยาชาวไทยก็มีความกังวลว่าถ้าสามีเจ็บไข้ได้ป่วยและไม่มีเลือดให้ หากเสียชีวิตขึ้นมาก็จะไม่มีใครดูแล

ปัญหา ดังกล่าวทำให้เกิดการระดมความคิด จนเกิดโครงการธนาคารเลือดขึ้นมา โดยธนาคารเลือดจะอยู่ที่ตัวบุคคล ด้วยการทำฐานข้อมูลว่าชาวต่างชาติแต่ละคนมีกรุ๊ปเลือดอะไร อยู่ที่ไหน ติดต่ออย่างไร เก็บไว้ที่โรงพยาบาล ซึ่งกำลังจะพัฒนาจัดทำเป็นเว็ปไซต์ขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเขาต้องการกรุ๊ปเลือดต่างๆเหล่านี้ หากเกิดอุบัติเหตุต้องการเลือดก็สามารถค้นหาข้อมูลจากธนาคารเลือดได้ ซึ่งก็จะช่วยแก้ปัญหาให้กับฝรั่งที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ไม่เพียงแต่อำเภอหนองวัวซอ ยังรวมไปถึงพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัด และจังหวัดอื่นๆทั่งประเทศไทยก็สามารถใช้งานได้ถ้าต้องการหาหรือใช้เลือด กรุ๊ปนี้ น.ส.มัลลิการะบุ

          น.ส.ประภัสสร ดวงลาพิมพ์ หรือ ปิ๊กสาวไทยวัย 32 ปีที่แต่งงานกับหนุ่มใหญ่ชาวอังกฤษวัย 50 ปี Mr. David Kennedy หรือ เดฟ เล่าว่าหลังจากคบหาดูใจพูดคุยผ่านสื่อรักออนไลน์ประมาณ 1 ปี จึงตัดสินใจแต่งงาน และกลับมาอยู่บ้านที่อุดรธานี โดยไม่คิดว่าสามีซึ่งเป็นชาวต่างชาติจะต้องประสบกับปัญหาเรื่องกรุ๊ปเลือด กับการรักษาพยาบาล จนกระทั่งเดฟประสบอุบัติเหตุจนข้อมือหักต้องทำการผ่าตัด แต่กว่าที่จะได้รับการรักษาก็กินเวลาไปค่อนเดือน และต้องย้ายโรงพยาบาลถึง 3 ครั้ง

          มาทราบทีหลังจากคุณหมอที่ขอนแก่นว่า ทางนี้อาจจะกลัวในเรื่องของการผ่าตัด เพราะเดฟเองก็มีกรุ๊ปเลือดพิเศษ Rh- ซึ่งหายากมากทำให้ถูกปฏิเสธการรักษา น.ส.ประภัสสร ระบุ

          ด้าน น.ส.โสภา เรวบุตร สาวไทยวัย 42 ปี ภรรยาของ Mr. Wolfgang Gennert สามีชาวเยอรมันวัย 66 ปี เล่าอย่างน้อยใจถึงรัฐสวัสดิการต่างๆ มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนไทยกับชาวต่างชาติว่า เขา มาแต่งงานกับเรา มาอยู่เมืองไทย เขาก็เอาเงินทองมาใช้จ่ายในบ้านเราปีหนึ่งๆ ไม่น้อย จึงอยากให้มีสวัสดิการการรักษาพยาบาลเทียบเคียงกับคนไทย

          หัว หน้ากลุ่มงานพยาบาลฯ ยังระบุว่าชาวต่างชาติที่มาอยู่ที่อุดรธานีหลายคนก็ไม่ได้มาอยู่เฉยๆ มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์มากมาย ผ่านเว็ปไซต์ www.udonmap.com ทั้งดูแลเด็กพิการในท้องถิ่น หรือการช่วยสอนภาษาต่างประเทศ

เด ฟและเพื่อนๆ ก็สนใจและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์มาตลอด ตอนนี้ก็เป็นอาสาสมัครช่วยโรงพยาบาลหนองวัวซอสอนภาษาอังกฤษให้กับเจ้า หน้าที่ของโรงพยาบาลทุกสัปดาห์วันละ 2 ชั่วโมง และยังสอนพิเศษให้กับเด็กๆ ด้วย เพื่อนของเดฟอีกคนหนึ่งก็อาสามาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้ กับทางโรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงน่าจะได้รับการให้บริการที่เท่าเทียมกันน.ส.ประภัสสร กล่าว

          ใน อนาคตเราไม่รู้ว่าประเทศไทยอาจจะกลายเป็นศูนย์กลางบ้านพักคนชราสำหรับชาว ต่างชาติ หญิงไทยที่มีอายุน้อยๆ ที่แต่งงานกับฝรั่งอายุมากจะมีความรู้สึกอย่างไรถ้าสามีเสียชีวิตไปทั้งๆ ที่ตัวเองอายุยังน้อย การใช้ชีวิตที่มีความแตกต่างกันทั้งอายุและลักษณะการใช้ชีวิตร่วมกันจะเป็น อย่างไร รวมถึงการดูแลฝรั่งที่เจ็บป่วยของหญิงไทย เพราะบางคนไม่รู้ว่าป่วยมารู้หลังจากแต่งงานกันไปแล้ว ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้หญิงไทยต้องแบกรับภาระต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำการศึกษาวิจัยต่อไป หัวหน้ากลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลหนองวัวซอ กล่าวสรุป.

 

 

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=97&nid=46487
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

บทเรียน จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11512 มติชนรายวัน


บทเรียน จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข chanwaleesrisukho@hotmail.com



จาก เมษายนถึงสิงหาคม 2552 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวนกว่าหมื่นราย เสียชีวิตกว่าร้อยราย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า ข้อมูลป่วยจริงน่าจะมากกว่าที่รายงาน 40-60 เท่า โดยประมาณการว่าจะระบาดอยู่ในประเทศ 1-3 ปี เมื่อสิ้นสุดการระบาดจะมีผู้ป่วย จำนวน 3-15 ล้านคน มีผู้ป่วยหนักที่ต้องนอนโรงพยาบาลจำนวน 30,000-130,000 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,200 คน

สำนักข่าวต่างประเทศ เช่น รอยเตอร์ บีบีซี และอื่นๆ ได้สรุปสถานการณ์การรับมือวิกฤตไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของ 78 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นบทเรียนที่ดี ที่น่าจะเตรียมตัวไว้ สำหรับประเทศไทยในการรับมือไวรัสหวัดมรณะตัวอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ผู้เขียนขอสรุปการรับมือหวัดมรณะเป็นอักษร A-Z สำหรับประเทศไทยดังนี้

A Alert เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสหวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นทวีปใดของโลก อย่าคิดว่าจะไม่แพร่มาประเทศไทย รัฐต้องเตรียมการรับมืออย่างรีบด่วน

B Banned รัฐควรมีประกาศห้ามบุคคลจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเข้ามาในประเทศ หากอนุญาตต้องมีระบบกักดูอาการ กรณีที่หวัดติดมาจากสัตว์ต้องห้ามเนื้อสัตว์เข้าประเทศจนกว่าจะยืนยันว่า ปลอดภัย

C Co-ordinate รัฐต้องร่วมมือแลกเปลี่ยนข่าวสารจากต่างประเทศ ทั้งประสานงานกับหน่วยงานในประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ เพื่อรับมือกับโรค

E Emergency ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมแผนการฉุกเฉินที่จะรับมือกับคนเจ็บ คนไข้หนัก ในเรื่องการป้องกัน การแยกกักกัน การรักษา การส่งต่อ อย่างมีมาตรฐานทั่วประเทศ

F Funds รัฐต้องอนุมัติเงินสำรองซื้ออุปกรณ์ ยา และสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือกับโรคที่เกิดขึ้น

G General information หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคแก่สื่อต่างๆ หรือแก่ประชาชนโดยตรงอย่างเร็วที่สุด เพื่อให้ข้อมูลความรู้กระจายออกไปให้กว้างที่สุด

H Health Policy กระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศนโยบาย มาตรการควบคุมโรค การป้องกัน การรักษา การให้ยาต้านไวรัส อย่างชัดเจนปฏิบัติง่ายไม่สับสน และถึงมือผู้ปฏิบัติทุกระดับ

I Isolated Infect People มีมาตรการไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ เช่น ให้อยู่บ้านจนกว่าหมดระยะติดต่อโรค ปิดโรงเรียน หยุดการแสดงมหรสพ การประชุม งานแสดง ที่ต้องอยู่ในห้องแอร์ที่ปิด

J Join ควรมีการเตรียมการที่ดี มีประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน บริหารจัดการ เตรียมคน สถานที่ที่จะบริการ จะทำให้ไม่ให้เกิดความโกลาหลจนคนไข้แน่นโรงพยาบาล

K Knowledge ผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขทุกระดับต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคระบาด จนสามารถรับมือกับโรค ดูแลรักษา ตลอดจนอธิบายวิธีป้องกันให้คนไข้และญาติได้

L Large stores อย่าให้สิ่งของจำเป็นต่อโรคระบาดขาดแคลน เช่น ยาต้านไวรัส อุปกรณ์ช่วยชีวิต และแม้แต่ผ้าคลุมปากจมูก

M Monitor ติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างใกล้ชิด มีการวิเคราะห์สถานการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับต่างประเทศ เปลี่ยนกลยุทธ์รับมือกับโรคให้ทันเหตุการณ์

N Nature อย่าลืมใช้ของจากธรรมชาติใกล้ตัวที่สามารถต้านทานไวรัส เช่น สมุนไพร

O Overweight ประกาศเตือนกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสได้ง่ายและรุนแรง รวมทั้งมีนโยบายพิเศษ ในการป้องกันรักษา เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก คนชรา คนที่มีโรคเรื้อรัง

P Preventive รณรงค์ให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว การเลือกรับประทาน การออกกำลังกาย การทำสมาธิ ไม่มาส่งเสริมให้ทำเฉพาะช่วงมีโรคระบาด

Q Quality รัฐต้องสนับสนุนให้สถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนทุกระดับมีคุณภาพพอที่จะรับมือ กับโรคระบาดได้ โดยไม่มีสองมาตรฐานในประเทศเดียวกัน

R Research สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดเพื่อเข้าใจธรรมชาติของโรคและการ ป้องกัน แม้มีงานวิจัยจากต่างชาติ แต่ละประเทศ ธรรมชาติ ภูมิคุ้มกัน และการดำเนินของโรคของประชากรย่อมแตกต่างกัน

S Slogan รัฐต้องคิดสโลแกนและถ่ายทอดสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้คนจำง่าย เช่น ประเทศอังกฤษ สร้างสโลแกนว่า "Catch it, Bin it, Kill it" คือใช้กระดาษทิชชูปิดปากเวลาไอจามทิ้งกระดาษลงถังขยะ หมั่นล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อ

T Telephone มีฮ็อตไลน์สายด่วนให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาโรคตลอด 24 ชั่วโมง

U Undercover ไม่ปกปิดยอดผู้ป่วยคนตายเพื่อเป็นผลงานของรัฐโดยเด็ดขาด

V Vaccine ชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนไม่ให้ประชาชนสับสน การเร่งผลิตวัคซีนเป็นสิ่งดี แต่วัคซีนนั้นต้องพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้

W War Room ตั้งกรรมการควบคุมโรคให้ครอบคลุมและมีอำนาจสั่งการ ตั้งศูนย์สั่งการ มีการประชุมรับสถานการณ์อย่างกระตือรือร้นตามความรีบด่วนให้ทันตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไป

X X-ray หมายถึงการสแกนอุณหภูมิคนติดเชื้อไวรัสตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน โรงเรียน สถานศึกษา สถานท่องเที่ยว และสแกนปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การปราบโรคระบาดไม่ได้ผล

Y You อย่าโยนความผิดให้หน่วยนั้นหน่วยนี้ถ้าการควบคุมโรคระบาดไม่ให้ผล แต่ต้องทบทวน นโยบาย การปฏิบัติ การสนับสนุน ปัญหาของหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของประชาชน และปัญหาของสื่อที่จะส่งผ่านความรู้สู่ประชาชน

Z Zigzag มีมาตรการปราบปรามไม่ให้มีผู้ซิกแซกหาทางคอร์รัปชั่นหรือฉวยโอกาสในช่วงเกิดโรคระบาด

เช่น ประมูลซื้อของที่จำเป็นในการต้านโรคด้วยราคาแพง ฉวยโอกาสขึ้นราคาผ้าคลุม ปากคลุมจมูก ขึ้นราคาวัคซีน ขายยาที่ไม่มีประสิทธิภาพต้านไวรัสอย่างแท้จริงเป็นต้น


หน้า 6

"ปฏิญญากรุงเทพ" ความหวังการแพทย์แผนดั้งเดิม

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11512 มติชนรายวัน


"ปฏิญญากรุงเทพ" ความหวังการแพทย์แผนดั้งเดิม


นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน



นับ เป็นครั้งแรกของกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ในการ ส่งเสริมการพัฒนาการแพทย์แผนดั้งเดิม (Traditional Medicine) ของแต่ละประเทศ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ ด้วยการพัฒนาภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นที่ยอมรับและใช้ประโยชน์สืบต่อกันมา อย่างยาวนานในชุมชนของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ แนวคิดที่จะพัฒนาและใช้ประโยชน์จากการแพทย์แผนดั้งเดิมนั้น มีมากว่าสามทศวรรษแล้วหลังการประชุมหายุทธศาสตร์เพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า เมื่อปี 2543 (Health For All By the Year 2000) ขององค์การอนามัยโลก ที่กรุงอัลมา อะตา สหภาพโซเวียตรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ.2520

ซึ่งได้ ข้อสรุปว่า ลำพังการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine) ย่อมไม่สามารถทำให้ประชากรทั่วโลก บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้

ทั้งนี้ เพราะ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และบุคลากรในวิชาชีพการแพทย์และสาธารณสุขมีไม่พอเพียง ราคาแพง กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และไม่กระจายอย่างทั่วถึง

ทำให้เกิดการ ขาดแคลนบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในชนบท ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แม้จนกระทั่งทุกวันนี้

เลขาธิการ อาเซียนได้ระบุชัดเจนว่า ยังมีประชากรโลกถึงหนึ่งในสามที่ตกอยู่ในสถานะเป็น "ประชากรชายขอบ" (marginalized population) ไม่สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์แผนปัจจุบันได้

น่า ยินดีที่การประชุมเรื่องการแพทย์แผนดั้งเดิมของอาเซียนครั้งนี้ นอกจากสมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีการนำเสนอรายงานของแต่ละประเทศอย่างชัดเจน และเป็นระบบแล้ว

ยัง มีอีก 4 ประเทศสำคัญในเอเชียมาร่วมประชุมด้วย ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากมูลนิธินิปปอน และประเทศไทย โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข สามารถจัดการประชุมครั้งนี้ได้อย่างดีเยี่ยม สามารถจัดทำและประกาศปฏิญญากรุงเทพ ว่าด้วยการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียนออกมาได้อย่างน่าชื่นชม


ปฏิญญา กรุงเทพ ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมครบถ้วน ชัดเจนและเป็นไปได้ โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือทั้ง 4 หัวข้อของปฏิญญาออกมาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งมีผู้แทนที่อาสาเป็นผู้จัดประชุมครั้งต่อๆ ไปแล้วถึง 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเตรียมรับเป็นเจ้าภาพการประชุมที่กรุงฮานอยในปีหน้า และที่บาหลีในปีถัดไป

นับเป็นความหวังอันสำคัญที่การแพทย์แผนดั้ง เดิมจะได้รับความร่วมมือ สนับสนุนและพัฒนาในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศที่ก้าวหน้าไปมากแล้วในเอเชีย 4 ประเทศให้การหนุนช่วย คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะคือ กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเดินหน้าพัฒนาเรื่องนี้ต่อไปอย่างถูกทิศทาง

ให้ การแพทย์ดั้งเดิมซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าสามารถก่อประโยชน์ให้แก่ ประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อประโยชน์ทางการค้าพาณิชย์เป็นสรณะ ซึ่งจะทำให้การแพทย์กลายสภาพเป็น "การแพศย์"

อย่างที่เกิดขึ้นกับการแพทย์แผนปัจจุบันไปแล้วไม่มากก็น้อย



ปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียน

ผู้เข้าร่วมการประชุม "การแพทย์ดั้งเดิมในภูมิภาคอาเซียน" ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-2 กันยายน 2552

ยืน ยัน วัตถุประสงค์ของกลุ่มประเทศอาเซียนในการดำรงและส่งเสริมสันติภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง และเพิ่มความเข้มแข็งของคุณค่าแห่งสันติภาพในภูมิภาค ดังที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน

หมอวิชัย


พยายาม ดำเนินการให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ในแผนที่นำทางของประชาคมอาเซียน (พ.ศ.2552-2557) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศในการสนับ สนุนบูรณาการการแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์เสริม และการแพทย์ทางเลือกที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล และมีคุณภาพเข้ากับระบบสาธารณสุขแห่งชาติ และเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ

เน้น ย้ำ วัตถุประสงค์เฉพาะตามแผนยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลกปี พ.ศ.2545-2548 เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการแพทย์ดั้งเดิม เข้ากับระบบสาธารณสุขแห่งชาติ ส่งเสริมความปลอดภัย ประสิทธิผล และคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิม

โดยเผยแพร่การแพทย์ดั้งเดิมบนฐาน ความรู้ ขยายบริการด้านการแพทย์ดั้งเดิมให้ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้ง่ายตามความ เหมาะสม โดยเฉพาะแก่กลุ่มประชากรที่ยากจน และสนับสนุนผู้ให้และรับบริการด้านการแพทย์ดั้งเดิมให้ใช้การรักษาอย่างถูก ต้อง

ยอมรับว่าการแพทย์ดั้งเดิมเป็นภูมิปัญญาที่ใช้ในการดูแลสุขภาพซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายและประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด

แสวง หาประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศพันธมิตรในการแสวงหาโอกาส เรื่อง ความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการเงินสำหรับการแพทย์ดั้งเดิม

ตระหนัก ถึงความสำคัญของความปลอดภัย ประสิทธิผล และคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน วินิจฉัย รักษา และจัดการกับโรค ในอาเซียน

ระลึกเสมอว่ารัฐสมาชิกของสมาคมแห่งประชา ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทุกประเทศเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีพืชสมุนไพร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เพิ่งค้นพบจำนวนมาก เช่นเดียวกับความรู้และเวชปฏิบัติตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งมีวิวัฒนาการจากชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ภูมิหลังจากปรัชญาที่แตกต่างกัน รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน

เน้นย้ำความสำคัญของการคุ้มครองภูมิปัญญาและเวชปฏิบัติในการแพทย์ดั้งเดิม

ยินดี ต้อนรับการสนับสนุนจากมูลนิธินิปปอนตามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสำนักเลขาธิการ อาเซียน เพื่อช่วยเหลือรัฐสมาชิกในการสนับสนุนการแพทย์ดั้งเดิมระหว่างกัน และอื่นๆ

จึงประกาศว่าจะ...

1.สร้างและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มี หลักฐานของการแพทย์ดั้งเดิมและเวชปฏิบัติในรัฐสมาชิกอาเซียน โดยการส่งเสริมและสื่อสารความรู้อย่างกว้างขวางและเหมาะสมทั่วภูมิภาครวม ทั้งในประเทศพันธมิตร

2.บรรสานข้อกำหนดทั้งทางวิชาการและกฎหมายระดับ ชาติ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกรณีของอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิผลและคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิม

3.เพื่อส่งเสริมการบูรณาการ การแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์เสริม และการแพทย์ทางเลือก เข้าสู่การบริการในระบบสาธารณสุข โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพเบ็ดเสร็จของประเทศ รวมทั้งการใช้การแพทย์ดั้งเดิมในการสาธารณสุขมูลฐาน

4.เพื่อพัฒนา กิจกรรมเฉพาะต่างๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยดำเนินการเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบโรคศิลปะและผู้ให้บริการ, ภาคอุตสาหกรรม, องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และองค์กรวิชาชีพ, นักวิชาการ, ชุมชน รวมทั้งองค์กรภาคี ในฐานะภาคีหลัก

จัดทำที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในวันที่ 1 ของเดือนกันยายน ในปี 2552


หน้า 20

ช่วยกันส่งต่อไปยังบุคคลที่เป็นเบาหวานและมีแผลที่เท้า

 

 

To: 
From: Sunida.T@allianzcp.com
Date: Wed, 17 Jun 2009 11:38:45 +0700






> โดยจะรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและมีแผลที่เท้าเท่านั้น ---------
>
> ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ที่ต้องรักษาแผลที่เท้า และต้องถูกตัดขาปีละ 40,000 ราย ( สี่
> หมื่นราย !!! ) ปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามในงานวิจัยโดยความร่วมมือกับ คณะแพทย์ศาสตร์
> มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ พตอ . นพ . ไพบูลย์ มะระพฤกษ์วรรณ โรงพยาบาลตำรวจ
> และ นพ . ณรงค์ชัย ยิ่งศักดิ์มงคล ศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัย
> ศรีนครินวิโรฒ คลอง 16 ถนนรังสิต - นครนายก ได้ช่วยผู้ป่วยให้ไม่ต้องถูกตัดขาไปแล้วหลายราย
>
> หากท่านใดมีญาติที่เป็นเบาหวาน มีแผลที่เท้า และมีปัญหาในการดูแลรักษา กรุณาช่วยประชาสัมพันธ์ให้
> ด้วยครับ
> ติดต่อโดยตรงกับผู้ประสานงานโครงการ คุณวุฒิพันธ์ บุญญกาญจน์ Tel. 081-3024707
>
> ในงานวิจัยนี้ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลรักษาเรื่องเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วย โดยไม่มีค่าใช้
> จ่ายใดๆทั้งสิ้น
> กรุณาบอกบุญเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดทางเลือกในการรักษาด้วยครับ ขออนุโมทนาบุญที่ได้ร่วมกันด้วย
> ขอบคุณครับ

Disclaimer :
This message is intended solely for the addressee. It is confidential and may be legally privileged. Access to this message by anyone else is unauthorised. Unauthorised use is strictly prohibited and may be unlawful. If you are not the intended recipient, any disclosure, copying, or distribution of the message, or any action or omission taken by you in reliance on it, except for the purpose of the delivery to the addressee, is prohibited and may be unlawful. Any confidentiality or privilege is not waived or lost because this email has been sent to you by mistake. Please immediately contact the sender if this email is incomplete or illegible, or if you have received it in error.Thank you.


See all the ways you can stay connected to friends and family

NEW mobile Hotmail. Optimized for YOUR phone. Click here.



check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

See all the ways you can stay connected to friends and family



แบ่งปันความทรงจำกับคนอื่นๆ ที่คุณต้องการทางออนไลน์ได้ คนอื่นๆ ที่คุณต้องการ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

กระบังลมหย่อน

กระบังลมหย่อน

                                                         กระบังลมหย่อน

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์
สูตินรีแพทย์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้จำนวนประชากรสูงอายุมากขึ้นพร้อม ๆ กับปัญหาสุขภาพเสื่อม
ถอยไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อม สมองเสื่อม หรือตาเป็นต้อ ซึ่งพบได้ทั้งหญิงและชาย แต่มีอยู่โรคหนึ่งที่พบไม่น้อยเฉพาะในหญิงสูงอายุ
ซึ่งเป็นแล้วไม่ค่อยยอมมาหาหมอ โรคที่ว่านี้คือ
กระบังลมหย่อน

ความหมายของกระบังลม
       เวลาคนเรายืนอวัยวะต่าง ๆ ในช่องท้อง เช่น ลำไส้ มดลูก กระเพาะปัสสาวะ จะไม่ไหลลงมากองที่หว่างขา นั่นเพราะเรามีกล้ามเนื้อ
ชุดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเปลญวนคอยพยุงเอาไว้ เราเรียกกล้ามเนื้อนี้ว่า
กล้ามเนื้อกระบังลมซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อต่าง ๆ หลายสิบมัด
ยึดติดประสานกัน ทำหน้าที่เหมือนพื้นรองของไม่ให้หล่นลงมา อย่างไรก็ตามจะมีบางบริเวณของกล้ามเนื้อชุดนี้ที่จะเป็นรูอยู่หลายตำแหน่ง
เพื่อให้อวัยวะบางอย่าง ได้แก่ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และรูทวารหนักผ่านออกมาได้

สาเหตุกระบังลมหย่อน
     โดยปกติกล้ามเนื้อกระบังลมจะมีความแข็งแกร่งทนทานค่อนข้างมาก แต่ถ้าสตรีใดผ่านการคลอดบุตร โดยเฉพาะคลอดทางช่องคลอดบ่อยๆ
ก็ จะทำให้กล้ามเนื้อชุดนี้ถูกยืดขยายและหย่อนยานได้ ยิ่งคลอดมาก กล้ามเนื้อก็จะยิ่งหย่อนมาก อย่างไรก็ตามในสตรีที่อายุยังไม่มาก แม้จะ
ผ่านการคลอดมาหลายครั้ง กล้ามเนื้อก็มักจะยังไม่ยืดหย่อนมาก เพราะยังมีฮอร์โมนจากรังไข่มาช่วยให้กล้ามเนื้อคงความแข็งแรงได้
ระดับ หนึ่ง แต่เมื่อสตรีเหล่านี้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ด้วยสภาพสังขารเองจะทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้หมดความแข็งแรงได้ง่าย ประกอบกับฮอร์โมน
ที่เคยมีในวัยสาวก็หมดลงไปด้วย กล้ามเนื้อก็จะยิ่งอ่อนแอลงมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระบังลมเกิดการหย่อนยาน คราก เสียความตึงตัว
จนไม่สามารถพยุงอวัยวะในช่องท้องไหว จึงทำให้ผนังช่องคลอดโผล่ออกมานอกช่องคลอด ถ้ารุนแรงมากขึ้นก็อาจมีมดลูกโผล่ออกมาหรือ
หลุดออกมาด้วย

       ทางการแพทย์เราพบว่าการคลอดลูกมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะกระบังลมหย่อน แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดได้ เช่น
การไอเรื้อรังจากโรคปอด หรือหลอดลมต่าง ๆ หรือรายที่ท้องผูกและต้องเบ่งถ่ายอยู่เป็นประจำ แต่ก็ยังน้อยกว่าการคลอดลูกมากอยู่ดี

อาการของโรค
       อาการของกระบังลมหย่อนมีได้มากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของอวัยวะที่หย่อน และความรุนแรงของการหย่อนที่พบบ่อยได้แก่
       - อาการหน่วงในช่องคลอด มักพบในรายที่มีการหย่อนของผนังช่องคลอดหรือมดลูกเพียงเล็กน้อย ถ้าหมอไม่สังเกตหรือตรวจอย่าง
ละเอียด อาจไม่พบความผิดปกตินี้ได้

       - มีก้อนเนื้อโผล่มาตุงที่ปากช่องคลอดหรือหลุดออกมานอกช่องคลอด บางรายก็แค่คลำได้ในช่องคลอด บางรายมองเห็นที่ปากช่องคลอด
เลยก็มี ก้อนเนื้อที่เห็นอาจเป็นผนังช่องคลอด หรือปากมดลูก หรือตัวมดลูกทั้งอันเลยก็ได้ แล้วแต่ความรุนแรงของภาวะกระบังลมหย่อน

       - เจ็บ แสบ มีแผล หรือมีเลือดออกบริเวณปากช่องคลอด ส่วนมากมักจะพบในรายผนังช่องคลอด ปากมดลูกหรือมดลูกโผล่ออกมานอก
ช่องคลอดและถูกเสียดสีกับอวัยวะข้างเคียง เช่น ต้นขา ปากช่องคลอด ทำให้เกิดแผลถลอก มีเลือดออกตามมา บางรายทิ้งไว้นานอาจกลายเป็น
แผลขนาดใหญ่ลุกลามจนปวดทรมานมากได้ ซึ่งกรณีหลังนี้มักพบในสตรีที่มีโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว

       - มีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ ซึ่งมีได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหากระบังลมหย่อน
      ...ในรายที่ผนังช่องคลอดหย่อนไม่มากอาจทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เพราะกระบังลมที่หย่อนจะทำให้กระเพาะปัสสาวะหย่อนตัวลง
มาด้วย เวลาถ่ายปัสสาวะจึงทำให้ถ่ายไม่หมด และร่างกายต้องพยายามขับทิ้งโดยถ่ายบ่อยขึ้น

      ...บางรายที่ผนังช่องคลอดหรือมดลูกหย่อนมากจนดันท่อปัสสาวะให้เลื่อนผิดตำแหน่ง และถ้าเวลา ไอ จามหรือออกแรง จะทำให้ท่อ
ปัสสาวะไม่สามารถกลั้นการไหลของปัสสาวะได้
 เกิดปัสสาวะเล็ด บางรายเป็นไม่รุนแรง แต่บางรายก็รุนแรง เป็นบ่อย เป็นมาก จนไม่กล้า
เข้าสังคมเพราะอับอายก็มี
 
      ...ในรายที่มดลูกหย่อนมาก อาจไปดันบริเวณรอยต่อของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะจนตีบ ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออกก็มีเวลาจะถ่าย
ปัสสาวะสักครั้ง ต้องเอามือดันมดลูกเข้าไปก่อน จึงจะถ่ายได้ เป็นเรื่องที่ทุกข์ทรมานไม่น้อย

        สตรี สูงอายุที่มีภาวะกระบังลมหย่อน ไม่ว่าจะมีอาการมากหรือน้อย ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมาหาหมอเพื่อรับการตรวจ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ที่พอสรุปได้
         1.อายและอายมากกว่าสาว ๆ เสียอีก ที่จะต้องไปนอนให้หมอมาดูอวัยวะเพศของตัวเอง เลยยอมอดทนต่ออาการต่าง ๆ โดยไม่ยอมปริ
ปากบอกใคร

        2.คิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องเกิด ส่วนมากเชื่อว่าปัญหากระบังลมหย่อนเป็นเรื่องตามธรรมชาติที่ต้องเกิดเมื่อแก่ตัว เลยไม่คิดจะมาหาหมอ
        3.เกรงใจลูกหลาน คนยิ่งแก่ยิ่งเกรงใจคนอื่นกลัวจะไปรบกวนลูกหลานให้หงุดหงิด รำคาญใจ ถ้าจะต้องให้พาไปหาหมอเลยทน ๆ เอา

การรักษากระบังลมหย่อน
        1. ออกกำลังกาย ในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจใช้แค่การบริหารกล้ามเนื้อกระบังลมด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการขมิบก้น จะทำให้กล้ามเนื้อกระบัง
ลมต้องมีการหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีการหนาตัว ตึงตัว และแข็งแรงขึ้น เหมือนกล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่และแข็งแรงขึ้นจากการตี
แบดมินตันหรือเล่นเทนนิส

        วิธีการขมิบก้นที่ได้ผลจะต้องขมิบให้แรงพอและนานพอ ซึ่งทดสอบได้ง่าย ๆ โดยขณะที่ทำการถ่ายปัสสาวะให้ลองขมิบก้นให้แรงจน
ปัสสาวะหยุดไหล เวลาขมิบจริงให้ใช้ความแรงประมาณนั้น แต่อย่าทำตอนถ่ายปัสสาวะ เพราะเดี๋ยวจะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบหรือถ่าย
ปัสสาวะลำบาก ในภายหลังได้ ท่านจะขมิบเวลาไหนก็ได้ แต่ควรทำอย่างน้อยวันละ
30-50ครั้ง ๆ ละ5-10 วินาที ทำไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่องอย่าง
น้อย
3 เดือน  ถึงจะเห็นผล 
        2. การผ่าตัดรักษา จะทำในรายที่เป็นรุนแรง มีการหย่อนของผนังช่องคลอดหรือมดลูกค่อนข้างมาก การผ่าตัดอาจทำเพียงแค่ตัดผนัง
ช่องคลอดส่วนที่หย่อนยานทิ้ง แล้วเย็บซ่อมให้แข็งแรง หรืออาจต้องตัดมดลูกทิ้งร่วมไปด้วย ในกรณีที่มดลูกหย่อนและยื่นลงมาค่อนข้างมาก
การผ่าตัดดังกล่าวทำไม่ยากและใช้เวลาไม่มาก แต่ได้ผลค่อนข้างดี ส่วนมากจะหายขาดจากอาการทุกข์ทรมานทั้งหลายอย่างเห็นได้ชัด
มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กลัวการผ่าตัดแต่หลังจากผ่าตัดแล้วพบว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น รู้อย่างนี้ผ่าตัดมาเสียตั้งนานแล้วก็มี

     ฉะนั้นถ้าใครมีผู้สูงอายุที่บ้านหมั่นถามท่านบ่อย ๆ ว่ามีอาการของภาวะกระบังลมหย่อนหรือไม่ ถ้ามีอย่ารีรอที่จะชวนท่านไปหาหมอ
นะครับ ส่วนมากรักษาให้หายขาดได้หรือถึงไม่หายขาด การรักษาก็สามารถบรรเทาอาการของโรคได้อย่างดี.

 

ที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=764

 

งานประชาสัมพันธ์
9/9/2552 - 30/9/2552
เกาะติดสถานการณ์


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ฮีโร่พันธุ์ใหม่ ใส่ใจสวมหน้ากาก หน้ากากอนามัย ป้องกันไข้หวัด 2009

ใหม่ ใส่ใจสวมหน้ากาก หน้ากากอนามัย ป้องกันไข้หวัด 2009


วิธีการใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก

1. ก่อนและหลังการใช้ผ้าปิดปากและจมูกควรล้างมือให้สะอาด

2. หากเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้หันขอบที่มีลวดไว้ด้านบน ควรสวมให้กระชับกับใบหน้า ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป และกดขอบ
ที่มีลวดแนบกับดั้งจมูก จะทำให้การใส่ผ้าปิดปากและจมูกกระชัยมากขึ้น ไม่รู้สึกระคายเคืองบริเวณนัยน์ตาขณะให้การพยาบาลผู้ป่วย

3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่สวมใส่

4. ระยะเวลาการใช้ผ้าปิดปากและจมูกจะต้องถอดทันทีภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการพยาบาลและเมื่อเกิดความสกปรกหรือชื้น
ไม่ควรแขวนผ้าปิดปากและจมูกไว้ที่คอ เพื่อรอการนำกลับมาใช้ใหม่เพราะเป็นการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโร ระยะเวลา
การใช้ผ้าปิดปากและจมูกไม่ควรเกิน
20 – 30 นาที เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้







งานประชาสัมพันธ์
19/7/2552 - 30/9/2552
เกาะติดสถานการณ์


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์


การประชุม เรื่อง “ห้องปฏิบัติการพบผู้รับบริการ”ภาควิชาทางปรีคลินิก ประจำปี 2552

งานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเรียนผู้สนใจเข้าร่วมอภิปรายในที่ประชุม เรื่องห้องปฏิบัติการพบผู้รับบริการ  
ภาควิชาทางปรีคลินิก ประจำปี 2552  ในวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552
เวลา 13.00-16.00 น.  ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์
ชั้น
7

      13.00 – 13.30 น.    ลงทะเบียน

      13.30 13.45 น.    พิธีเปิดประชุม

                                     โดย    คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

      13.45 14.00 น.    นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชาจุลชีววิทยา

                                      โดย    ผศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน

      14.05 14.20 น.    นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชานิติเวชศาสตร์

                                       โดย   รศ.นพ.วิสูตร  ฟองศิริไพบูลย์

      14.25 14.40 น.    นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชาปรสิตวิทยา

                                      โดย    รศ.พญ.ดาราวรรณ  วนะชิวนาวิน

      14.45 15.00 น.    นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก

                                      โดย    ผศ.นพ.เสถียร  สุขพณิชนันท์

      15.05 15.20น.     นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน

                                      โดย    ผศ.พญ.ศันสนีย์  เสนะวงษ์

      15.25 15.40 น.    นำเสนอพร้อมอภิปรายภาควิชาสรีรวิทยา

                                      โดย    ผศ.ดร.พญ.วัฒนา  วัฒนาภา
       15.45 16.00 น.     ตอบข้อซักถามผู้รับบริการ


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552 เวลา 13.00 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ


 

งานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญบุคลากรศิริราช เข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการ Quality Conference ครั้งที่
7/2552
 เรื่อง “Medication Reconciliation”   ในวันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2552  เวลา 13.00 – 15.00 น.  ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ 
ตึกสยามินทร์ ชั้น
7

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ทีมสุขภาพทุกท่าน ธำรงความต่อเนื่องของกระบวนการดูแลผู้ป่วย ด้วยตระหนักในโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น
ในระหว่างรอยต่อของการให้บริการและทำหน้าที่ตรวจสอบยาที่ผู้ป่วยได้รับระหว่างที่อยู่ที่บ้าน เพื่อให้มั่นใจในความต่อเนื่องและความ
ปลอดภัยในการได้รับยา ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถพัฒนาตนเอง รวมถึงปฏิบัติงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

      12.45 13.00 น.    ลงทะเบียน       

      13.00 13.10 น.    พิธีเปิด  

                                      โดย :  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

      13.10 13.45 น.    “Medication Reconciliation คืออะไร ทำไมต้องทำ

                                      โดย    รศ.ภญ.ธิดา  นิงสานนท์

                                                ที่ปรึกษาสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

      13.45 – 14.45 น.    แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำ Medication Reconciliation ในศิริราช

                                      โดย    ภญ.วุฒิรัต  ธรรมวุฒิ         ฝ่ายเภสัชกรรม

                                                คุณดวงพร   สันทัด           หอผู้ป่วยพิเศษ 84/7 ตะวันออก

                                                คุณสุดารัตน์  เปี่ยมสินธุ์    หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ 3 สามัญ

                                      ผู้ดำเนินการ  เภสัชกรหญิงวิมล  อนันต์สกุลวัฒน์

                                      ผู้วิพากษ์    รศ.ภญ.ธิดา  นิงสานนท์     ที่ปรึกษาสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

      14.45 - 15.00 น.     สรุป และพิธีปิด

                                      โดย :   รศ.นพ.สุรินทร์  ธนพิพัฒนศิริ

                                                  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 15 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 17.30-19.30 น.ประชาคมคนสนามหลวง

ประชาคมคนสนามหลวง : อิสรชน/กระจกเงา/กรุงเทพมหานคร

by : pijawat (pijawat)
Mail to rothphai-tom@hotmail.com
IP : (124.120.155.203) - เมื่อ : 11/09/2009 12:24 PM

อิสรชนร่วมกับกระจกเงาและกรุงเทพมหานคร จัดประชาคมคนสนามหลวง ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 17.30-19.30 น. เพื่อระดมความคิดเห็น รวบรวมข้อเสนอแนะในกรณีจัดระเบียบสนามหลวง เพื่อมอบให้แก่ คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มากกว่าพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว

เชิญชวนให้มาร่วมกันเป็นอาสาสมัคร ผู้สังเกตการณ์ หรือ
ผู้สนับสนุน ด้วยการ นำของมาบริจาคแก่ คนสนามหลวง



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science