"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

"ปฏิญญากรุงเทพ" ความหวังการแพทย์แผนดั้งเดิม

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11512 มติชนรายวัน


"ปฏิญญากรุงเทพ" ความหวังการแพทย์แผนดั้งเดิม


นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน



นับ เป็นครั้งแรกของกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ในการ ส่งเสริมการพัฒนาการแพทย์แผนดั้งเดิม (Traditional Medicine) ของแต่ละประเทศ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ ด้วยการพัฒนาภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นที่ยอมรับและใช้ประโยชน์สืบต่อกันมา อย่างยาวนานในชุมชนของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ แนวคิดที่จะพัฒนาและใช้ประโยชน์จากการแพทย์แผนดั้งเดิมนั้น มีมากว่าสามทศวรรษแล้วหลังการประชุมหายุทธศาสตร์เพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า เมื่อปี 2543 (Health For All By the Year 2000) ขององค์การอนามัยโลก ที่กรุงอัลมา อะตา สหภาพโซเวียตรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ.2520

ซึ่งได้ ข้อสรุปว่า ลำพังการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine) ย่อมไม่สามารถทำให้ประชากรทั่วโลก บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้

ทั้งนี้ เพราะ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และบุคลากรในวิชาชีพการแพทย์และสาธารณสุขมีไม่พอเพียง ราคาแพง กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และไม่กระจายอย่างทั่วถึง

ทำให้เกิดการ ขาดแคลนบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในชนบท ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แม้จนกระทั่งทุกวันนี้

เลขาธิการ อาเซียนได้ระบุชัดเจนว่า ยังมีประชากรโลกถึงหนึ่งในสามที่ตกอยู่ในสถานะเป็น "ประชากรชายขอบ" (marginalized population) ไม่สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์แผนปัจจุบันได้

น่า ยินดีที่การประชุมเรื่องการแพทย์แผนดั้งเดิมของอาเซียนครั้งนี้ นอกจากสมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีการนำเสนอรายงานของแต่ละประเทศอย่างชัดเจน และเป็นระบบแล้ว

ยัง มีอีก 4 ประเทศสำคัญในเอเชียมาร่วมประชุมด้วย ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากมูลนิธินิปปอน และประเทศไทย โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข สามารถจัดการประชุมครั้งนี้ได้อย่างดีเยี่ยม สามารถจัดทำและประกาศปฏิญญากรุงเทพ ว่าด้วยการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียนออกมาได้อย่างน่าชื่นชม


ปฏิญญา กรุงเทพ ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมครบถ้วน ชัดเจนและเป็นไปได้ โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือทั้ง 4 หัวข้อของปฏิญญาออกมาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งมีผู้แทนที่อาสาเป็นผู้จัดประชุมครั้งต่อๆ ไปแล้วถึง 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเตรียมรับเป็นเจ้าภาพการประชุมที่กรุงฮานอยในปีหน้า และที่บาหลีในปีถัดไป

นับเป็นความหวังอันสำคัญที่การแพทย์แผนดั้ง เดิมจะได้รับความร่วมมือ สนับสนุนและพัฒนาในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศที่ก้าวหน้าไปมากแล้วในเอเชีย 4 ประเทศให้การหนุนช่วย คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะคือ กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเดินหน้าพัฒนาเรื่องนี้ต่อไปอย่างถูกทิศทาง

ให้ การแพทย์ดั้งเดิมซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าสามารถก่อประโยชน์ให้แก่ ประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อประโยชน์ทางการค้าพาณิชย์เป็นสรณะ ซึ่งจะทำให้การแพทย์กลายสภาพเป็น "การแพศย์"

อย่างที่เกิดขึ้นกับการแพทย์แผนปัจจุบันไปแล้วไม่มากก็น้อย



ปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียน

ผู้เข้าร่วมการประชุม "การแพทย์ดั้งเดิมในภูมิภาคอาเซียน" ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-2 กันยายน 2552

ยืน ยัน วัตถุประสงค์ของกลุ่มประเทศอาเซียนในการดำรงและส่งเสริมสันติภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง และเพิ่มความเข้มแข็งของคุณค่าแห่งสันติภาพในภูมิภาค ดังที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน

หมอวิชัย


พยายาม ดำเนินการให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ในแผนที่นำทางของประชาคมอาเซียน (พ.ศ.2552-2557) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศในการสนับ สนุนบูรณาการการแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์เสริม และการแพทย์ทางเลือกที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล และมีคุณภาพเข้ากับระบบสาธารณสุขแห่งชาติ และเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ

เน้น ย้ำ วัตถุประสงค์เฉพาะตามแผนยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลกปี พ.ศ.2545-2548 เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการแพทย์ดั้งเดิม เข้ากับระบบสาธารณสุขแห่งชาติ ส่งเสริมความปลอดภัย ประสิทธิผล และคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิม

โดยเผยแพร่การแพทย์ดั้งเดิมบนฐาน ความรู้ ขยายบริการด้านการแพทย์ดั้งเดิมให้ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้ง่ายตามความ เหมาะสม โดยเฉพาะแก่กลุ่มประชากรที่ยากจน และสนับสนุนผู้ให้และรับบริการด้านการแพทย์ดั้งเดิมให้ใช้การรักษาอย่างถูก ต้อง

ยอมรับว่าการแพทย์ดั้งเดิมเป็นภูมิปัญญาที่ใช้ในการดูแลสุขภาพซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายและประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด

แสวง หาประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศพันธมิตรในการแสวงหาโอกาส เรื่อง ความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการเงินสำหรับการแพทย์ดั้งเดิม

ตระหนัก ถึงความสำคัญของความปลอดภัย ประสิทธิผล และคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน วินิจฉัย รักษา และจัดการกับโรค ในอาเซียน

ระลึกเสมอว่ารัฐสมาชิกของสมาคมแห่งประชา ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทุกประเทศเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีพืชสมุนไพร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เพิ่งค้นพบจำนวนมาก เช่นเดียวกับความรู้และเวชปฏิบัติตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งมีวิวัฒนาการจากชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ภูมิหลังจากปรัชญาที่แตกต่างกัน รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน

เน้นย้ำความสำคัญของการคุ้มครองภูมิปัญญาและเวชปฏิบัติในการแพทย์ดั้งเดิม

ยินดี ต้อนรับการสนับสนุนจากมูลนิธินิปปอนตามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสำนักเลขาธิการ อาเซียน เพื่อช่วยเหลือรัฐสมาชิกในการสนับสนุนการแพทย์ดั้งเดิมระหว่างกัน และอื่นๆ

จึงประกาศว่าจะ...

1.สร้างและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มี หลักฐานของการแพทย์ดั้งเดิมและเวชปฏิบัติในรัฐสมาชิกอาเซียน โดยการส่งเสริมและสื่อสารความรู้อย่างกว้างขวางและเหมาะสมทั่วภูมิภาครวม ทั้งในประเทศพันธมิตร

2.บรรสานข้อกำหนดทั้งทางวิชาการและกฎหมายระดับ ชาติ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกรณีของอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิผลและคุณภาพของการแพทย์ดั้งเดิม

3.เพื่อส่งเสริมการบูรณาการ การแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์เสริม และการแพทย์ทางเลือก เข้าสู่การบริการในระบบสาธารณสุข โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพเบ็ดเสร็จของประเทศ รวมทั้งการใช้การแพทย์ดั้งเดิมในการสาธารณสุขมูลฐาน

4.เพื่อพัฒนา กิจกรรมเฉพาะต่างๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยดำเนินการเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบโรคศิลปะและผู้ให้บริการ, ภาคอุตสาหกรรม, องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และองค์กรวิชาชีพ, นักวิชาการ, ชุมชน รวมทั้งองค์กรภาคี ในฐานะภาคีหลัก

จัดทำที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในวันที่ 1 ของเดือนกันยายน ในปี 2552


หน้า 20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น