"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

บทเรียน จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11512 มติชนรายวัน


บทเรียน จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข chanwaleesrisukho@hotmail.com



จาก เมษายนถึงสิงหาคม 2552 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวนกว่าหมื่นราย เสียชีวิตกว่าร้อยราย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า ข้อมูลป่วยจริงน่าจะมากกว่าที่รายงาน 40-60 เท่า โดยประมาณการว่าจะระบาดอยู่ในประเทศ 1-3 ปี เมื่อสิ้นสุดการระบาดจะมีผู้ป่วย จำนวน 3-15 ล้านคน มีผู้ป่วยหนักที่ต้องนอนโรงพยาบาลจำนวน 30,000-130,000 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,200 คน

สำนักข่าวต่างประเทศ เช่น รอยเตอร์ บีบีซี และอื่นๆ ได้สรุปสถานการณ์การรับมือวิกฤตไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของ 78 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นบทเรียนที่ดี ที่น่าจะเตรียมตัวไว้ สำหรับประเทศไทยในการรับมือไวรัสหวัดมรณะตัวอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ผู้เขียนขอสรุปการรับมือหวัดมรณะเป็นอักษร A-Z สำหรับประเทศไทยดังนี้

A Alert เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสหวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นทวีปใดของโลก อย่าคิดว่าจะไม่แพร่มาประเทศไทย รัฐต้องเตรียมการรับมืออย่างรีบด่วน

B Banned รัฐควรมีประกาศห้ามบุคคลจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเข้ามาในประเทศ หากอนุญาตต้องมีระบบกักดูอาการ กรณีที่หวัดติดมาจากสัตว์ต้องห้ามเนื้อสัตว์เข้าประเทศจนกว่าจะยืนยันว่า ปลอดภัย

C Co-ordinate รัฐต้องร่วมมือแลกเปลี่ยนข่าวสารจากต่างประเทศ ทั้งประสานงานกับหน่วยงานในประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ เพื่อรับมือกับโรค

E Emergency ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมแผนการฉุกเฉินที่จะรับมือกับคนเจ็บ คนไข้หนัก ในเรื่องการป้องกัน การแยกกักกัน การรักษา การส่งต่อ อย่างมีมาตรฐานทั่วประเทศ

F Funds รัฐต้องอนุมัติเงินสำรองซื้ออุปกรณ์ ยา และสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือกับโรคที่เกิดขึ้น

G General information หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคแก่สื่อต่างๆ หรือแก่ประชาชนโดยตรงอย่างเร็วที่สุด เพื่อให้ข้อมูลความรู้กระจายออกไปให้กว้างที่สุด

H Health Policy กระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศนโยบาย มาตรการควบคุมโรค การป้องกัน การรักษา การให้ยาต้านไวรัส อย่างชัดเจนปฏิบัติง่ายไม่สับสน และถึงมือผู้ปฏิบัติทุกระดับ

I Isolated Infect People มีมาตรการไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ เช่น ให้อยู่บ้านจนกว่าหมดระยะติดต่อโรค ปิดโรงเรียน หยุดการแสดงมหรสพ การประชุม งานแสดง ที่ต้องอยู่ในห้องแอร์ที่ปิด

J Join ควรมีการเตรียมการที่ดี มีประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน บริหารจัดการ เตรียมคน สถานที่ที่จะบริการ จะทำให้ไม่ให้เกิดความโกลาหลจนคนไข้แน่นโรงพยาบาล

K Knowledge ผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขทุกระดับต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคระบาด จนสามารถรับมือกับโรค ดูแลรักษา ตลอดจนอธิบายวิธีป้องกันให้คนไข้และญาติได้

L Large stores อย่าให้สิ่งของจำเป็นต่อโรคระบาดขาดแคลน เช่น ยาต้านไวรัส อุปกรณ์ช่วยชีวิต และแม้แต่ผ้าคลุมปากจมูก

M Monitor ติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างใกล้ชิด มีการวิเคราะห์สถานการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับต่างประเทศ เปลี่ยนกลยุทธ์รับมือกับโรคให้ทันเหตุการณ์

N Nature อย่าลืมใช้ของจากธรรมชาติใกล้ตัวที่สามารถต้านทานไวรัส เช่น สมุนไพร

O Overweight ประกาศเตือนกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสได้ง่ายและรุนแรง รวมทั้งมีนโยบายพิเศษ ในการป้องกันรักษา เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก คนชรา คนที่มีโรคเรื้อรัง

P Preventive รณรงค์ให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว การเลือกรับประทาน การออกกำลังกาย การทำสมาธิ ไม่มาส่งเสริมให้ทำเฉพาะช่วงมีโรคระบาด

Q Quality รัฐต้องสนับสนุนให้สถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนทุกระดับมีคุณภาพพอที่จะรับมือ กับโรคระบาดได้ โดยไม่มีสองมาตรฐานในประเทศเดียวกัน

R Research สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดเพื่อเข้าใจธรรมชาติของโรคและการ ป้องกัน แม้มีงานวิจัยจากต่างชาติ แต่ละประเทศ ธรรมชาติ ภูมิคุ้มกัน และการดำเนินของโรคของประชากรย่อมแตกต่างกัน

S Slogan รัฐต้องคิดสโลแกนและถ่ายทอดสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้คนจำง่าย เช่น ประเทศอังกฤษ สร้างสโลแกนว่า "Catch it, Bin it, Kill it" คือใช้กระดาษทิชชูปิดปากเวลาไอจามทิ้งกระดาษลงถังขยะ หมั่นล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อ

T Telephone มีฮ็อตไลน์สายด่วนให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาโรคตลอด 24 ชั่วโมง

U Undercover ไม่ปกปิดยอดผู้ป่วยคนตายเพื่อเป็นผลงานของรัฐโดยเด็ดขาด

V Vaccine ชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนไม่ให้ประชาชนสับสน การเร่งผลิตวัคซีนเป็นสิ่งดี แต่วัคซีนนั้นต้องพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้

W War Room ตั้งกรรมการควบคุมโรคให้ครอบคลุมและมีอำนาจสั่งการ ตั้งศูนย์สั่งการ มีการประชุมรับสถานการณ์อย่างกระตือรือร้นตามความรีบด่วนให้ทันตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไป

X X-ray หมายถึงการสแกนอุณหภูมิคนติดเชื้อไวรัสตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน โรงเรียน สถานศึกษา สถานท่องเที่ยว และสแกนปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การปราบโรคระบาดไม่ได้ผล

Y You อย่าโยนความผิดให้หน่วยนั้นหน่วยนี้ถ้าการควบคุมโรคระบาดไม่ให้ผล แต่ต้องทบทวน นโยบาย การปฏิบัติ การสนับสนุน ปัญหาของหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของประชาชน และปัญหาของสื่อที่จะส่งผ่านความรู้สู่ประชาชน

Z Zigzag มีมาตรการปราบปรามไม่ให้มีผู้ซิกแซกหาทางคอร์รัปชั่นหรือฉวยโอกาสในช่วงเกิดโรคระบาด

เช่น ประมูลซื้อของที่จำเป็นในการต้านโรคด้วยราคาแพง ฉวยโอกาสขึ้นราคาผ้าคลุม ปากคลุมจมูก ขึ้นราคาวัคซีน ขายยาที่ไม่มีประสิทธิภาพต้านไวรัสอย่างแท้จริงเป็นต้น


หน้า 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น