"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อังกฤษจับมือไทยพัฒนาวิจัยลดโลกร้อน

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11528 มติชนรายวัน


อังกฤษจับมือไทยพัฒนาวิจัยลดโลกร้อน




ศ.จอห์น เบดดิงตัน ประธานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการลงนามความร่วมมือ "โครงการ UK- THAILAND PARTNERS IN SCIENCE : การพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) และรัฐบาลอังกฤษ" ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศมาทำงานร่วมกัน โดยรัฐบาลอังกฤษจะดึงนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มีชื่อเสียง อาทิ สถาบันวิจัยทางด้านชีวภาพ สถาบันวิจัยทางด้านอาหาร และสถาบันวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มาร่วมกันประชุมในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อหาแนวทางการวิจัยร่วมกัน

ศ.จอห์น กล่าวอีกว่า สำหรับกรอบงานวิจัยจะมุ่งเน้น 4 หัวข้อ ประกอบด้วย
1.งานวิจัยแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน อาทิ โรคไข้เลือดออก รวมทั้งโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำอื่นๆ
2.การพัฒนาวัสดุอิเล็กทรอนิกส์แบบสะอาด หรือ ไบโออิเล็กทรอนิกส์
3.นาโนเทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และ
4.เทคโนโลยีด้านพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะพลังงานชีวมวล ประเทศไทยมีศักยภาพด้านนี้มาก เนื่องจากมีวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์อังกฤษสนใจการพัฒนาดังกล่าว ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากได้หารือหัวข้องานวิจัยที่จะทำร่วมกันในช่วงเดือนพฤศจิกายน จากนั้น อีก 2-3 ปี จะกลับมาดูว่างานวิจัยเดินหน้าไปมากน้อยแค่ไหน และได้อะไรจากความร่วมมือดังกล่าวบ้าง โดยสิทธิของงานวิจัยจะเป็นของนักวิจัยทั้ง 2 ประเทศอย่างเท่าเทียมกัน

ด้าน รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวว่า ประเทศอังกฤษมีความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนามากมาย โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ มีการศึกษาแบบจำลองการกระจายของเชื้อไวรัส ทำนายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด นำมาสู่การหาแนวทางป้องกัน ซึ่งประเทศไทยก็ต้องการองค์ความรู้ด้านนี้เช่นกัน (กรอบบ่าย)


หน้า 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น