สนามหลวงโมเดล (3) : ข้อเสนอแบบครบวงจรเพื่อบรรเทาปัญหา
ข่าวคราวเรื่องการปรับปรุงภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงติดต่อกันมาเดือนเศษแล้ว ยังไม่ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายรับได้อย่างชัดเจน เหตุผลหนึ่งที่ ต้องยอมรับ คือ ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ที่ไม่เคยสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์เพื่อ ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับคนใน สนามหลวง มีแต่ ชี้ประเด็นว่า คนในสนามหลวง คือผู้ก่อปัญหา ตัวปัญหา ต้อง กำจัดให้ออกไปจากสนามหลวง ??อย่างนี้ ใครจะอยากรับปัญหาไปกองที่บ้านตัวเอง ทั้งที่ คนที่สนามหลวง ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เขาคือผลพวงของปัญหาต่างหาก
อิสรชน พยายามเสนอแนวคิด สร้างงาน ไปพร้อมกับการหาที่อยู่อย่างเป็นหลักแหล่งให้กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่มีความพร้อมและมีความต้องการจะมีที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังกล่าวคือ รัฐบาลมีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่สร้างไม่แล้วเสร็จรอบ ๆ กรุงเทพมหานครหลายโครงการ ที่ผู้รับเหมาทิ้งงาน น่าที่จะนำมาแปรสภาพเป็นโครงการบ้านมั่นคงได้ โดยให้มีกระบวนการทำงานอย่างบูรณาการเข้าไป จ้างคนเร่ร่อนไร้บ้านเป็นแรงงานในการ ดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ พร้อมได้รับโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน ให้ผ่อนส่งราคาถูก พร้อมมีรถรับส่ง จากโครงการ มายังใจกลางเมืองเพื่อทำงาน หรือ กทม. จะจ้างงานให้เป็น ลูกจ้างชั่วคราวของ กทม. เพื่อดูแลรักษาความสะอาดต่อก็ยังพอได้
ในส่วนของ ผู้ที่ยังมีครอบครัวและสามารถคืนกลับสู่ครอบครัวได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่น คงของมนุษย์ ก็ใช้กลไก พมจ. ที่มีอยู่ทุกจังหวัด สืบค้นครอบครัว และทำการเยียวยาครอบครัว ที่ต้นทาง ก่อนจะนำคนเร่ร่อนไร้บ้าน คืนกลับสู่ครอบครัว ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของอิสรชน พบว่า กว่า 30 % ไม่กลับมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก
ที่สำคัญการทำงานในการแก้ไขปัญหา คนเร่ร่อนไร้บ้าน คนทำงาน ต้องยึดถือมาตรฐานการทำงานกับคนด้อยโอกาสที่มีการระดมความคิดและวางกรอบในการทำงาน รวมถึงมีการกำหนดค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมา การทำงานใช้วิธีการทำแบบขอไปที ทำตามสัญชาตญาณมากกว่าอาศัยหลักวิชาการในการทำงาน
ส่วนในกลุ่มของ ผู้มีความบกพร่องทางสมอง สมองเสื่อม หรือ กลุ่มผู้วิกลจริต ก็ต้องเร่งพัฒนาองค์ความรู้และกลไกรองรับให้รวดเร็วที่สุด เพราะในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า คนเร่ร่อนไร้บ้านในกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วย ยังไม่มีใครเป็นเจ้าภาพหลักในการทำงานกับเขาในพื้นที่สาธารณะ เพราะเน้นงานตั้งรับมากกว่างานเชิงรุก
ทั้งหมดที่กล่าวมา จำเป็นต้องอาศัยกลไกหลักที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. .. ที่ยังค้างอยู่ในขั้นการพิจรณาหลังจากผ่านความเห๋นชอบในหลักการของ คณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 แต่ยังไม่มีท่าทีการเคลื่อนไหวที่สอดรับกับสถานการณ์แต่อย่างใด เพราะ ในเนื้อหาของ พรบ. ฉบับนี้ เปิดโอกาสให้ ภาคส่วนในสังคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นกลไกที่หลากหลายเพื่อรองรับรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม แต่ละจังหวัด ที่จะมีบริบทแตกต่างกันออกไป
ความท้าทายของการจัดการกับ ปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้านที่สะสมกันมามากกว่า 30 ปี ผลพวงของความผิดพลาดในการใช้นโยบายบริหานประเทศที่ผิดพลาด ส่งผลให้ ผู้คน หลั่งไหลกันเข้ามาโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือ และการสื่อสารที่ตอกย้ำภาพลบของคนที่พ่ายแพ้ต่อชีวิตที่ดิ้นรนจนบอบช้ำกลายเป็น จำเลยของสังคม แทนที่จะได้รับความเห็นใจ
ข่าวคราวเรื่องการปรับปรุงภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงติดต่อกันมาเดือนเศษแล้ว ยังไม่ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายรับได้อย่างชัดเจน เหตุผลหนึ่งที่ ต้องยอมรับ คือ ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ที่ไม่เคยสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์เพื่อ ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับคนใน สนามหลวง มีแต่ ชี้ประเด็นว่า คนในสนามหลวง คือผู้ก่อปัญหา ตัวปัญหา ต้อง กำจัดให้ออกไปจากสนามหลวง ??อย่างนี้ ใครจะอยากรับปัญหาไปกองที่บ้านตัวเอง ทั้งที่ คนที่สนามหลวง ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เขาคือผลพวงของปัญหาต่างหาก
อิสรชน พยายามเสนอแนวคิด สร้างงาน ไปพร้อมกับการหาที่อยู่อย่างเป็นหลักแหล่งให้กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่มีความพร้อมและมีความต้องการจะมีที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังกล่าวคือ รัฐบาลมีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่สร้างไม่แล้วเสร็จรอบ ๆ กรุงเทพมหานครหลายโครงการ ที่ผู้รับเหมาทิ้งงาน น่าที่จะนำมาแปรสภาพเป็นโครงการบ้านมั่นคงได้ โดยให้มีกระบวนการทำงานอย่างบูรณาการเข้าไป จ้างคนเร่ร่อนไร้บ้านเป็นแรงงานในการ ดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ พร้อมได้รับโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน ให้ผ่อนส่งราคาถูก พร้อมมีรถรับส่ง จากโครงการ มายังใจกลางเมืองเพื่อทำงาน หรือ กทม. จะจ้างงานให้เป็น ลูกจ้างชั่วคราวของ กทม. เพื่อดูแลรักษาความสะอาดต่อก็ยังพอได้
ในส่วนของ ผู้ที่ยังมีครอบครัวและสามารถคืนกลับสู่ครอบครัวได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่น คงของมนุษย์ ก็ใช้กลไก พมจ. ที่มีอยู่ทุกจังหวัด สืบค้นครอบครัว และทำการเยียวยาครอบครัว ที่ต้นทาง ก่อนจะนำคนเร่ร่อนไร้บ้าน คืนกลับสู่ครอบครัว ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของอิสรชน พบว่า กว่า 30 % ไม่กลับมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะอีก
ที่สำคัญการทำงานในการแก้ไขปัญหา คนเร่ร่อนไร้บ้าน คนทำงาน ต้องยึดถือมาตรฐานการทำงานกับคนด้อยโอกาสที่มีการระดมความคิดและวางกรอบในการทำงาน รวมถึงมีการกำหนดค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมา การทำงานใช้วิธีการทำแบบขอไปที ทำตามสัญชาตญาณมากกว่าอาศัยหลักวิชาการในการทำงาน
ส่วนในกลุ่มของ ผู้มีความบกพร่องทางสมอง สมองเสื่อม หรือ กลุ่มผู้วิกลจริต ก็ต้องเร่งพัฒนาองค์ความรู้และกลไกรองรับให้รวดเร็วที่สุด เพราะในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า คนเร่ร่อนไร้บ้านในกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วย ยังไม่มีใครเป็นเจ้าภาพหลักในการทำงานกับเขาในพื้นที่สาธารณะ เพราะเน้นงานตั้งรับมากกว่างานเชิงรุก
ทั้งหมดที่กล่าวมา จำเป็นต้องอาศัยกลไกหลักที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. .. ที่ยังค้างอยู่ในขั้นการพิจรณาหลังจากผ่านความเห๋นชอบในหลักการของ คณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 แต่ยังไม่มีท่าทีการเคลื่อนไหวที่สอดรับกับสถานการณ์แต่อย่างใด เพราะ ในเนื้อหาของ พรบ. ฉบับนี้ เปิดโอกาสให้ ภาคส่วนในสังคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นกลไกที่หลากหลายเพื่อรองรับรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม แต่ละจังหวัด ที่จะมีบริบทแตกต่างกันออกไป
ความท้าทายของการจัดการกับ ปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้านที่สะสมกันมามากกว่า 30 ปี ผลพวงของความผิดพลาดในการใช้นโยบายบริหานประเทศที่ผิดพลาด ส่งผลให้ ผู้คน หลั่งไหลกันเข้ามาโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือ และการสื่อสารที่ตอกย้ำภาพลบของคนที่พ่ายแพ้ต่อชีวิตที่ดิ้นรนจนบอบช้ำกลายเป็น จำเลยของสังคม แทนที่จะได้รับความเห็นใจ
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น