"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สนามหลวงโมเดล : รูปแบบการทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดย สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)

สนามหลวงโมเดล ฉบับแก้ไขครั้งที่ ๑

สนามหลวงโมเดล : รูปแบบการทำงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
โดย
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์)

บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีว่า กรุงเทพมหานคร เป็นเสมือนสัญญลักษณ์ของความเจริญ มาตั้งแต่ยุคก่อน 2513 ที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับแรก ๆ ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ประชาชนในชนบทตั้งใจเข้ามาแสวงหาทางเลือกทางรอดในชีวิตที่ยากแค้นในภาคการเกษตร ผ่านการเสพสื่อที่ผ่านไปหาชาวบ้านโดยหนังกลางแปลง หนังขายยา ฯลฯ
สนามหลวงกลายเป็นสัญญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครผ่านการบอกเล่าของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสื่อบุคคล และสื่อสารมวลชน ต่างยุคต่างสมัย ทำให้ผู้คนในชนบทที่เข้ามาทำงาน เข้ามาขุดทองในกรุงเทพมหานคร มีความตั้งใจที่เดินทางมาที่ สนามหลวง พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ประกอบกับ คำพูดที่พูดถึงสนามหลวงในแง่มุมต่าง ๆ รวมไปถึง ลักษณะทางกายภาพของสนามหลวงเองที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนที่มานี่นี่ใช้ประโยชน์จากสนามหลวงได้อย่างหลากหลาย และไร้ขอบเขตข้อจำกัดใดใด รวมถึงเงื่อนไขของเวลาอีกด้วย
หากย้อนไปก่อน 2523 ในสมัยที่สนามหลวงยังถูกใช้ประโยชน์ในแง่มุมทางเศรษฐกิจชุมชนเพื่อเอื้อเฟื้อคนจนเมือง สนามหลวง เป็นแหล่งรวมข้าวของ เพื่อซื้อขายจับจ่ายกันในวันหยุดปลายสัปดาห์ ของคนเมือง และคนจนเมืองที่ใช้เป็นศูนย์กลางการค้าที่มีขนาดพอเหมาะในยุคนั้น และต้องมีการขยับขยายย้ายที่ไปในปี 2524 ก่อนเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี 2525 จากนั้น สนามหลวงก็ถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจสำหรับคนทุกระดับชั้นในกรุงเทพมหานคร รวมถึงคนเร่ร่อนไร้บ้านมาโดยตลอด
ในช่วงปี 2535 เรื่อยมาการใช้พื้นที่สนามหลวงเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองมีค่อนข้างถี่ จนกระทั่งปัจจุบัน สนามหลวง เป็นแหล่งพักพิงของคนจนเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจก ลางเมือง เริ่มมีผู้คนจำนวนหนึ่ง พยายามกลับมาใช้สนามหลวง เป็นสถานที่จับจ่ายซื้อขาย ยามค่ำคืนอีกครั้งหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่โดยรวมของสนามหลวง ก็ยังเป็นพื้นที่ของการพักพิงของคนจนที่ไร้ที่อยู่อีกจำนวนไม่น้อยกว่า 300 คนในแต่ละปี ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจจะมีเพิ่ม จำนวนถึง 1,000 – 1,500 คนในบางช่วงบางเวลา แต่ จำนวนที่ค่อนข้างแน่นอน ก็จะมีไม่น้อยกว่า 200 – 300 คนในยามค่ำคืน ของแต่ละวัน คนจนเมืองกลุ่มนี้ จะเข้ามาใช้พื้นที่สนามหลวง พักผ่อนนอนหลับ เนื่องมาจาก สนามหลวง เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นสวนสาธารณะแบบเปิด เปิด ตลอด 24 ชั่วโมง และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางของการเดินทางของกรุงเทพมหานครทาง ฝั่งตะวันตกและใต้ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง สนามหลวงจึงกลายเป็น ที่พักพิงขนาดใหญ่ของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร
คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ทุกคณะมีความพยายามจะเข้ามาจัด ระเบียบของสนามหลวง ไล่เรียงมาตั้งแต่ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ,ร้อยเอกกฤษดา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ,ดร.พิจิตต รัตตกุล ,นายสมัคร สุนทรเวช ,นายอภิรักษ์ เกษะโยธิน และ ล่าสุด ม.รว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ต่างก็มีมาตรการที่จะพยายามจัดระเบียบสนามหลวง โดยเน้นการทำให้พื้นที่มีความสวยงาม เป็นสำคัญ เน้นให้คืนสนามหลวงเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนของคนเมืองเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงการบริหารที่สาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนจนเมือง ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนเร่ร่อนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง

สาเหตุของการมาเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
คำถามที่ว่า อะไรคือสาเหตุของการมาเป็นผู้ใช้ ชีวิตในที่สาธารณะ ก็จะไม่พ้นคำตอบเดิม ๆ ซ้ำซาก ... ภาคการเกษตรล้มเหลว ... สถาบันครอบครัวล้มเหลว ... แต่ไม่ค่อยมีหน่วยงานไหน หรือใครกล้ายอมรับว่า เป็นเพราะความล้มเหลวของนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบผิดที่ผิดทาง เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจตั้งแต่เริ่มต้นมีแผนพัฒนาฯ ทำให้ละเลยการพัฒนาภาคสังคม หรือละเลยการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ภาคสังคม ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ทำให้ ผู้คนในชนบทดิ้นรนที่จะมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายโดยดูแบบแผนจากคนเมืองเป็นแบบอย่าง แม้ในภายหลังจะมีความพยายามนำเรื่องการพัฒนาสังคมสอดแทรกให้อยู่ในแผนพัฒนาฯโดยเฉพาะการริเริ่ม เน้นการพัฒฯคน ตั้งแต่ปลายแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 เป็นต้นมา หรือแม้กระทั่ง การเร่งรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจพอเพียง แต่การเริ่มก็เกิดขึ้นภายหลังหารลุกลามของปัญหาที่ เกาะกินเข้าถึงแก่นของสถาบันครอบครัวอันเป็นสถาบันหลักของสังคม ทำให้ ผู้คนในชนบทก็ยังหลั่งไหลเข้ามาสู่เมืองใหญ่ ๆ ที่แผ่นขยายออกไปตามหัวเมืองสำคัญ ๆ ทั่วประเทศไม่เฉพาะในกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว แต่ ในท้ายที่สุด ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะตามหัวเมืองต่าง ๆ ก็ยังแอบมีความหวัง ความฝันที่จะเข้ามาหาทางพัฒฯชีวิตที่ดีกว่าในกรุงเทพมหานครเช่นกัน
หากจะกล่าวโดยสรุปถึงสาเหตุสำคัญหลัก ๆ ของการมาเป็น ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในพื้นที่ สนามหลวง ก็จะสามารพถแบ่ง ออกเป็นสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. ความยากจนและความล้มเหลวของภาคการเกษตรในชนบท
2. การขาดความเข้าใจกันภายในครอบครัว
3. ปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่เร่งเร้าจากภายในครอบครัว เช่น มรดก เป็นต้น
4. ความเชื่อพื้นฐานเดิมของชุมชน
5. ปัจจับเสริมอื่น ๆ เฉพาะตัว เช่น รักอิสระ เป็นต้น

วิธีการทำงานเพื่อเข้าถึงรากแท้ของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ ปลายปี 2545 มาจนถึงปัจจุบัน ที่อิสรชน เริ่มขยับเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมตัวทำงานในพื้นที่ สนามหลวง และเริ่มลงทำงานอย่างจริงจังในปลายปี 2547 พบว่า การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยเฉพาะพื้นที่ สนามหลวง คลองหลอด และปริมณฑล คำตอบไม่ใช่ การหาที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว หากแต่ว่าคำตอบมีมากกว่านั้นมากมาย แต่กว่าจะได้มาซึ่งคำตอบนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการทำงานเพื่อค้นหาคำตอบจากผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างเข้มข้นและลงลึก
โดยการทำงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา อิสรชน ได้ทดลองและริเริ่มรูปแบบกิจกรรมเพื่อค้นหารากเหง้าของปัญหาร่วมกับคนสนามหลวงอย่างหลากหลายวิธี ที่พอจะสรุปได้ ได้แก่

1. การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
2. การสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น
3. การคุยกลุ่มย่อยในพื้นที่
4. การคุยกลุ่มย่อยนอกพื้นที่
5. การทำประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นในพื้นที่
6. การให้บริการพื้นฐานเฉพาะหน้า
7. การออกหน่วยให้คำปรึกษาแบบเคลื่อนที่เร็ว
8. การตั้งหน่วยบริการให้คำปรึกษาแบบประจำจุด
การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง พบว่า ปัญหาพื้นที่ ที่คนสนามหลวงต้องการเป็นการเร่งด่วน คือ การยืนยันสถานภาพบุคคลทางทะเบียนราษฎร เพื่อยืนยันความเป็นพลเมืองไทย และ นำไปสู่การได้รับสิทธิอื่น ๆ ที่พลเมืองไทยพึงได้จากรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในการหางานทำเพื่อพัฒนาตนเองในโอกาสต่อไป
รูปแบบการให้บริการเชิงรับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
จากการทำงานประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ภาครัฐเรียกว่า คนไร้ที่พึ่ง พบว่า สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ ที่รัฐมีอยู่ ยังไม่สามารถรองรับสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้อย่างแท้จริง กล่าวคือ สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ ของรัฐที่มีอยู่ มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถให้บริการ ครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้านได้ โดยฌฉพาะการแยกการให้การดูแลครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะออกจากกัน แม้จะมีในบางกรณีที่สามารถให้แม่เด็กและเด็กอยู่ด้วยกันได้ แต่ก็แยกผู้เป็นสามีออกจากครอบครัว จากการทำงานพบว่า เกือบจะ 100% ของครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ได้รับการเชิญตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในรูปแบบเดิม จากรัฐ จะกลายเป็นครอบครัวแตกในที่สุด เพราะเมื่อสามีหัวหน้าครอบครัว สามารถหาทางออกจากสถานแรกรับ หรือสถานสงเคราะห์มาได้ก่อน ภรรยามักจะมีครอบครัวใหม่ และเมื่อภรรยาเก่าออกมาพบ ก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันในพื้นที่อยู่เป็นประจำ ยังไม่รวมการที่เด็กเมื่อได้รับการแยกให้การสงเคราะห์ออกไปมักจะได้รับการทอดทิ้งจากครอบครัว เป็นภาระของรัฐที่ต้องดูแลเด็กในฐานะเด็กถูกทอดทิ้ง
อิสรชน มีแผนการดำเนินการเปิด สถานพัฒนาคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ(บ้านปั้นปูน) เพื่อเป็นทางเลือกในการให้บริการด้านการสงเคราะห์เบื้องต้น แก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้สามารถอยู่ได้ในรูปแบบของครอบครัว โดยจะมีนักสังคมสงเคราะห์ ,นักพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำอยู่ในบ้านดังกล่าว เพื่อคอยให้คำแนะนำและประสานงานหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ หรือ ภูมิลำเนาของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กรณีมีความต้องการจะกลับภูมิลำเนา และ จัดให้มีการฝึกอาชีพเบื้องต้นในรูปแบบของการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อเสริมศักยภาพของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ก่อนจะดำเนินการส่งต่อ หรือ ส่งกลับภูมิลำเนา โดยพยายามบริหารกรอบเวลาให้สามารถทำงานได้อย่างครอบคลุมปัญหาให้มากที่สุด



การระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อร่วมกันบรรเทาปัญหา
การแก้ไข หรือบรรเทาปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อนไร้บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมไปถึงภาคองค์กรธุรกิจด้วย เพื่อขยายพื้นที่การดูแลพลเมืองในสังคมอย่างทั่วถึงและสร้างทางเลือกให้ได้มากที่สุด
ในส่วนของภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรภาคเอกชน องค์กรประชาสังคม ที่แสดงความจำนงจะเข้ามาช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหานี้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการพัฒนากลไกเดิมที่มีอยู่ในสอดรับสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไปตลอดเวล
รัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้แก่องค์กรภาคธุรกิจให้ออกมาร่วมสนับสนุนทั้งงบประมาณวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้เข้าทำงาน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ อันจะนำไปสู่การยุติการใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างถาวรในอนาคต
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต(บ้านปั้นปูน)
เกริ่นนำ
หลังจากที่นำเสนอรูปแบบและแนวคิดการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในเบื้องต้น นั้น เป็นเพียง กรอบแนวคิดการปรับทัศนคติและปูพื้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานให้บริการแก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เท่านั้น ในครั้งนี้ จะขอเน้นการนำเสนอรูปแบบการให้บริการ เชิงรุก และ รับ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างเป็นระบบตามแนวคิดของอิสรชนเป็นหลัก ซึ่งรูปแบบของบ้านปั้นปูน จะเป็นการทำงานเชิงประสานงานและร่วมมือกัน ระหว่าง ภาคประชาชน เอกชนและราชการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

การทำงานเชิงรุก
รูปแบบการทำงานเชิงรุกของการให้บริการแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตามแนวคิดของอิสรชน นั้น จะเน้นการออกมาพบปะกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตเมือง เพื่อสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ ตลอดจนการให้บริการขั้นพื้นที่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ บริการด้านสาธารณสุขเบื้องต้น การให้คำปรึกษา การแนะนำแหล่งทรัพยากรที่ให้บริการด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ การติดต่อขอทำบัตรประชาชน เป็นต้น
และพร้อมกันนั้น เจ้าหน้าที่ภาคสนามก็ยังจะสามารถแนะนำชักชวนให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่มีความต้องการจะยุติชีวิตในที่สาธารณะ และ มีความประสงค์จะขอรับการพัฒนาฟื้นฟู เพื่อเตรียมตัวคืนกลับสู่ ครอบครัว ชุมชน และสังคม เข้าสู่ระบบการให้บริการของศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต (บ้านปั้นปูน) ที่ ดูแลและดำเนินงานโดย อิสรชนร่วมกับภาคีเครือข่าที่ทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน
การทำงานเชิงรับ
รูปแบบการทำงานเชิงรับของอิสรชน ภายใต้ชื่อ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต(บ้านปั้นปูน) เป็นรูปแบบการทำงาน สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์และบ้านเปิด ผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยเน้นการให้บริการแบบสมัครใจ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่มีความประสงค์จะเข้ามาขอรับบริการ สามารถเข้ามาได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเข้ามาขอใช้บริการด้วยตัวเอง หรือ จะติดตามเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้ามาขอรับบริการ หรือ จะเป็นการส่งตัวต่อมาจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชนอื่น และเป็นหนึ่งในกลไกการทำงานในขั้นของการคัดกรอง ผู้สมัครใจเข้ารับการพัฒนาและฟื้นฟู้คุรภาพชีวิต เพื่อเตรียมตัวคืนกลับสู่สังคมต่อไป
กรอบการให้บริการ แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะได้แก่
1. แรกรับ ทดลองอยู่ ในรูปแบบนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทดลองเข้ามาอยู่ เพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยไม่มีเงื่อนไขการเข้าออก แต่ สามาถอยู่อย่างต่อเนื่องติดต่อกันได้ไม่เกินครั้งละ 10 วัน และ อนุญาตให้เข้าออกได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ใน 1 ปี และอาจส่งต่อไปยังหน่วยบริการอื่นของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ,กระทรวงแรงงาน เป็นต้น
2. หลักสูตรระยะสั้น เป็นการสมัครใจเข้ารับการพัฒนาและฟื้นฟูระยะสั้น โดยมีหลักสูตรที่ต้องสมัครใจ เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 วัน และเมื่อผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อาจจะขอรับการอบรมในหลักสูตรที่สูงขึ้นได้ หรือ จะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
3. หลักสูตรระยะกลาง เป็นการให้การอบรมที่ใช้ระยะเวลาเพิ่มมากขึ้นกว่า ในหลักสูตรแรก โดยที่จะใช้เวลาอบรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรระยะสั้นก็ได้ เมื่อผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อาจจะขอรับการอบรมในหลักสูตรที่สูงขึ้นได้ หรือ จะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
4. หลักสูตรระยะยาว เป็นการให้การอบรมที่ใช้เวลาในการอบรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรระยะสั้นหรือระยะกลางก็ได้ ผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
5. การขอรับบริการระยะสั้น เพื่อขอพักพิงเพื่อรองการส่งต่อ หรือ กลับภูมิลำเนา โดยผู้ใช้บริการในรูปแบบนี้ อาจจะเป็นผู้รับบริการของหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่รอการประสานงานเพื่อให้บริการตามที่ผู้รับบริการรองขอ หรือออาจจะเป็นผู้รับบริการของอิสรชนเอง ที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ ไปทำงาน โดยสามารถอยู่ในศูนย์ฯได้มีระยะเวลาติดต่อกัน ไม่เกิน 5 วันทำงาน
รูปแบบการทำงานที่อิสรชนออกแบบในเบื้องต้น นี้ จะเป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่สามารถเข้ามาขอรับบริการได้ทั้งมาคนเดียว หรือมาเป็นครอบครัว แต่ต้องเกิดจากความสมัครใจเป็นสำคัญ อนึ่ง การทำงานในพื้นที่ ยังมีความจำเป็นอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถนำคนออกจากพื้นที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดอำนาจรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 55 หาก ยังไม่มี มาตรการที่เหมาะสม หรือ พระราชบัญญัติที่ออกมารองรับและคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างเป็นรูปธรรม

การทำงานเชิงประสานงาน
เน้นการทำงานประสานงานข้อมูลสถานะบุคคล การมีสิทธิ์ในรัฐสวัสดิการด้านต่าง ๆการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพตามความสมัครใจ รวมถึงการส่งกลับภูมิลำเนาโดยสมัครใจ โดยเน้นการทำงานร่วมทั้งในหน่วยงานของภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครในการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ

บทสรุป
การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิ ตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อนไร้บ้าน ในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับสภาพปัญหาที่เคลื่อนไหวอย฿ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุด คือ การสื่อสารสาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม ที่มองว่า คนเหล่านี้ ขี้เกียจ หลักลอย ไม่เอาไหน ให้มองเสียใหม่ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ เมื่อคนเหล่านี้มีความพร้อมที่จะคืนกลับสู่สังคม เพราะเมื่อสังคมได้รับการเตรียมความพร้อมแล้ว ก็จะสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้ ที่สำคัญ ต่างฝ่ายจะเกื้อหนุนกัน จนเกิดเป็นพลังในการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข

วิทยากรคนเก่ง
http://www.facebook.com/profile.php?ref=profile&id=1342651261#!/notes/nthi-sr-wari/snam-hlwng-model-chbb-kaekh-khrng-thi-1/203689437862

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น