"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"มะเร็งหลังโพรงจมูก"

มะเร็งหลังโพรงจมูก

วันเสาร์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 0:00 น





ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว หลายคนก็คงจะกลัว ไม่อยากเผชิญหน้ากับก้อนเนื้อร้ายของมัน
     
อันตรายของโรคมะเร็งในปัจจุบันที่สำคัญ ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องการรักษาทางกายและทางจิตใจ หลายคนที่เคยประสบพบเจอกับโรคมะเร็งกับตัวเอง ก็คงจะทราบดีในเรื่องนี้ เกริ่นถึงโรคมะเร็งขึ้นมา แน่นอนว่าฉบับนี้ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับโรคมะเร็งมาฝาก
   
“มะเร็งหลังโพรงจมูก”
   
มะเร็งหลังโพรงจมูก ถือเป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่น้อยในปัจจุบัน ลักษณะที่สังเกตได้กล่าวคือ การตรวจจะพบเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่เกิดบริเวณหลังโพรงจมูก  ซึ่งเป็นบริเวณคอหอยที่อยู่ด้านหลังของโพรงจมูก และอยู่เหนือจากระดับเพดานปากขึ้นไป
   
อุบัติการณ์ ที่พบส่วนมากแล้วจะพบได้ในกลุ่ม  คนจีนโดยเฉพาะทางมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกง และคนจีน  ในสิงคโปร์ ได้มาก จะพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าในมะเร็งของบริเวณศีรษะและลำคอ โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 10-20 ปี และพบมากในช่วงอายุ 30-55 ปี ทั้งนี้ยังพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วน 3 ต่อ 1
   
ลักษณะอาการบ่งบอก ในระยะแรกมักไม่ค่อยชัดเจนและมีลักษณะแตกต่างกันไป ทำให้การวินิจฉัยในระยะแรกมักทำได้ยาก เนื่องด้วยผู้ป่วยไม่ได้มาพบแพทย์ และไม่มีอาการแสดงมาก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์แล้วก็ต่อเมื่อด้วยมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 50-90 ของผู้ป่วย เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เอง มีท่อน้ำเหลืองที่ติดต่อกับบริเวณด้านหลังโพรงจมูกค่อนข้างมาก
   
นอกจากนี้ ยังพบอาการทางจมูกพบได้มากถึงกึ่งหนึ่งของผู้ป่วยคือ มีอาการน้ำมูกปนเลือด คัดจมูกข้างเดียว หูอื้อข้างเดียว อาจมีเสียงดังหรือปวดหู ซึ่งเกิดจากเนื้องอกกดเบียดท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง ทำให้มีของเหลวขังอยู่ในหูชั้นกลาง
   
ส่วนอาการทางระบบประสาทที่พบมักเกิดจากเส้นประสาทเป็นอัมพาตหรือปวดศีรษะ อาการที่พบเช่น เห็นภาพซ้อน เนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมการกรอกตาเป็นอัมพาต อาการชาหรือเจ็บบริเวณใบหน้าหรือคอส่วนบน เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณนี้ ถูกมะเร็งกดเบียดหรือลุกลาม บางรายที่เป็นมากก็จะลุกลามไปยังเส้นประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของลิ้นหรือ สายเสียงได้ ทำให้กลืนลำบาก มีเสียงแหบ หรือมีการสำลักได้
   
อาการอื่น ๆ ที่พบได้ ก็ยังมี เช่น การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และยังสามารถแพร่กระจายไปปอดและตับได้ เมื่อกล่าวถึงการลุกลาม นอกจากที่กล่าวมาแล้ว มะเร็งหลังโพรงจมูกสามารถลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น สมองโพรงจมูก ไซนัส ช่องคอ และหู
   
สาเหตุหรือปัจจัยการเกิดโรค มีหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ เหตุเพราะพบในชาวตะวันออกมากกว่าตะวันตก ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพบ้านเรือน อาหารโดยเฉพาะปลาเค็ม รวมทั้งการติดเชื้อบางชนิด เพราะมะเร็งบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสบางตัว
     
ขั้นตอนการวินิจฉัย ของแพทย์จึงต้องมีการตรวจอย่างละเอียด อาจเริ่มต้นจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจทางหู คอ จมูก การตรวจบริเวณหลังโพรงจมูกด้วยกล้องส่องตรวจชนิดแข็งหรือชนิดสายโค้งงอได้ การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัย การตัดชิ้นเนื้อผ่านทางรูจมูกภายใต้กล้องส่องตรวจทางจมูกหรือกระจกเงาผ่าน ทางช่องปาก สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้โดยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล ยกเว้นในบางรายที่ต้องทำภายใต้การดมยาสลบ เนื่องจากไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ได้เช่น ในผู้ป่วยเด็ก หรือในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งลึก
   
ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นเรื่อง การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่คอเพื่อการส่งตรวจ เนื่องจากทำให้เกิดผลเสียด้านการรักษาและอัตราการอยู่รอด หากจำเป็นต้องทำ ก็ให้ใช้วิธีเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและทำได้ทันที
     
  วิธีการตรวจเลือด ในบางรายอาจช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและการติดตามผลการรักษาได้ ซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
     
 ส่วนการวินิจฉัยทางรังสีวิทยา โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ซีที-สแกน) จะช่วยบอกระยะและการลุกลามของโรคได้ ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ยังบอกได้ว่า อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก สามารถพบได้ 15-50 ราย ต่อประชากร 100,000 คน
   
การรักษาทางการแพทย์ นั้น แพทย์จะทำการฉายรังสี เมื่อมะเร็งตอบสนองดีต่อการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัดร่วมในบางรายเพื่อช่วยเสริมกับการฉายรังสี เพราะมะเร็งชนิดนี้มักเกิดซ้ำได้หลังฉายรังสีแล้ว หรือระยะของโรคเป็นมาก  ถ้าตัวโรคกระจายไปมาก การฉายรังสีจะครอบคลุมได้ไม่หมดทำให้มะเร็งแพร่กระจายไปนอกบริเวณฉายรังสี ได้ ส่วนการผ่าตัดนั้น จะทำในรายที่ยังมีการเหลือของเนื้องอกหลังการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด แล้วและยังสามารถผ่าตัดได้
     
โรคมะเร็งไม่น่ากลัว..หากรู้จักสำรวจตัวเอง และมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ.

ผศ.นพ.วิชิต ชีวเรืองโรจน์
ภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น