"http://comment-thai.com/pimp_glitter_15748.html"

“ เมื่อไหร่ …หนูจะได้กลับบ้าน ”

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)

Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

Bookmark and Share
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

หอการค้ามะกันชี้การเมือง "เรื่องใหญ่" กระทบขีดแข่งขันไทย-เร่งรัฐแก้ปัญหามาบตาพุด

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


หอการค้ามะกันชี้การเมือง "เรื่องใหญ่" กระทบขีดแข่งขันไทย-เร่งรัฐแก้ปัญหามาบตาพุด





สหรัฐ อเมริกาคือพันธมิตรสำคัญของไทยในหลายแง่มุม ซึ่งรวมทั้งด้านการค้าและการลงทุนที่นักลงทุนอเมริกันติดอันดับต้น ๆ ของนักลงทุนรายใหญ่ของเมืองไทยในโอกาสที่หอการค้าอเมริกันในประเทศจัดงาน "ความร่วมมือระหว่างสหรัฐ-ไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย" นายโจเซฟ จาจา ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยคนใหม่ ได้เปิดโอกาสให้คณะสื่อมวลชนสัมภาษณ์พิเศษเกี่ยวกับประเด็น ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ไทยในยุคปัจจุบัน

การเมืองคือประเด็นที่กังวลมากที่สุด

นาย จาจา ชี้ว่า "เสถียรภาพทางการเมือง" คือประเด็นใหญ่ที่สุดที่นักลงทุนอเมริกันรู้สึกกังวลใจในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา โดยปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก ทั้งนี้ทุกฝ่ายตลอดจนบรรดานักลงทุนต่างต้องการเห็นไทยกลับไปมีเสถียรภาพทาง การเมืองเหมือนในอดีต

และทราบกันดีว่าประเทศที่มีเสถียรภาพทางการ เมืองมีหลักนิติธรรม (Rule of Law) หรือการปกครองโดยใช้กลไกของกฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดเพื่อก่อให้เกิดความเป็น ธรรมแก่ทุกฝ่าย ล้วนมีการเติบโตและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการมีเสถียรภาพทางการเมืองของไทยในอนาคตจะหมายถึงความรุ่งเรืองทาง เศรษฐกิจของประเทศเช่นกัน

ส่วนในประเด็นที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.การ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น นายจาจาแสดงความคิดเห็นว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคง โดยทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมาสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสงบ ทั้งส่วนของกลุ่มผู้ชุมนุมและการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล

"ผม ยังมองในแง่ดี และมั่นใจว่าตราบใดที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างสันติ โดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น และตราบใดที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมดำเนินการเช่นนั้น ก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลควรจะปฏิบัติ คือ สร้างความมั่นใจว่าจะรักษากฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย และต้องไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ได้ต้องการใช้ความรุนแรงเพื่อ แก้ปัญหา"

ทุกประเทศต่างมีปัญหาผู้ชุมนุมทั้งสิ้น แต่ความแตกต่างอยู่ที่การรับมือต่อการชุมนุมบนท้องถนน เราเรียกร้องทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านให้ดำเนินการสิ่งต่าง ๆ โดยสันติวิธี เพื่อที่อย่างน้อยจะทำให้บรรดานักลงทุนต่างชาติ และที่สำคัญที่สุดคือ นักท่องเที่ยวมองว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีความสงบ พวกเขาสามารถเดินทางมาได้ มาท่องเที่ยวพักผ่อนและใช้จ่ายเงินโดยไม่รู้สึกถูกคุมคามจากการชุมนุมบนท้อง ถนน

"ผมหวังว่าเราจะไม่เห็นความรุนแรงบนท้องถนน"

ไทยยังดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน

สำหรับ แนวโน้มเพิ่มการลงทุนในไทย นายจาจาระบุว่า เมื่อมองในระดับมหภาคจะเห็นว่าเอเชียเป็นผู้นำในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ในไตรมาส 4 ของปีกลายถือเป็นช่วงเวลาที่แข็งแกร่งมากของเศรษฐกิจไทย สิ่งต่าง ๆ กำลังกลับคืนสู่ภาวะปกติ สิ่งที่นักลงทุน ต่างชาติ รวมทั้งนักลงทุนอเมริกันจับตามอง คือ จะเกิดอะไรบ้างเมื่อไทยมีเสถียรภาพทางการเมือง ไตรมาส 4 ปีกลายเป็นตัวชี้วัดที่ดี เช่นเดียวกับช่วงเริ่มต้นของไตรมาสนี้ นายจาจา เล่าว่า ตนได้ยินว่าโรงแรมส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯมียอดเข้าพักเต็ม 100% ในช่วงตรุษจีนสิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่า คนกำลังกลับมาเมืองไทยในฐานะจุดหมายปลายทางยอดนิยม นักลงทุนกำลังจับตามองสัญญาณเหล่านี้

"ผมคิดว่าทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างเข้าใจว่าไทยกำลังกลับมาแล้ว และคงไม่มีใครอยากเห็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ หลังเห็นว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มดีขึ้นแล้ว"

หนุนรัฐเร่งกำหนดเกณฑ์ด้านอุตฯ

นาย จาจากล่าวถึงปัญหามาบตาพุดว่า มาบตาพุดเป็นปัญหาที่น่าสนใจ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเปลี่ยนกฎการเล่น (rule of the game) นักลงทุนก็จะกังวลใจ เพราะหลายปีก่อน นักลงทุนได้ตัดสินใจลงทุนและวางแผนต่าง ๆ ไปแล้วบนพื้นฐานความเข้าใจต่อกฎระเบียบข้อบังคับ ณ ขณะนั้น

ทั้งนี้ จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยที่กำหนดให้มีการ ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากโครงการอุตสาหกรรมนั้น ตนพูดได้ว่าไม่มีนักลงทุนกลุ่มใด รวมทั้งนักลงทุนอเมริกันที่จะไม่กังวลต่อเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของคน อย่างไรก็ตามพวกเขากังวลถึงกฎที่เปลี่ยนไปหลังจากที่พวกเขาตัดสินใจลงทุนไป แล้ว

"สิ่งที่อยากเรียกร้องต่อรัฐบาลคือ ต้องเร่งดำเนินกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ความชัดเจนเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเกณฑ์ (criteria) อย่างรวดเร็ว มีการจัดตั้งองค์กรอิสระมารับผิดชอบ และช่วยให้นักลงทุนเข้าใจกฎการดำเนินธุรกิจในไทย แทนที่จะลงโทษโครงการที่ได้ลงทุนไปแล้ว หรือพร้อมจะเปิดดำเนินการแล้ว"

ทั้ง นี้ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าหากอนุญาตให้นักลงทุนดำเนินโครงการต่าง ๆ เมื่อพวกเขาพร้อมจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่ไทยกำหนด ซึ่งนายจาจา มองว่าเป็นทางออกที่ส่งผลดีต่อทุกฝ่ายทั้งในแง่ช่วยจำกัดความเสียหายทางการ เงินของนักลงทุน พร้อมสร้างงานให้คนในชุมชน สร้างรายได้ภาษีให้แก่รัฐบาลโดยที่ไม่ละเลยต่อประเด็นสุขภาพของคน

"กฎเกณฑ์ ที่ชัดเจนมีความสำคัญต่อการลงทุนในอนาคต โดย ทุกคนที่ต้องการลงทุนในไทย ล้วนต้องทำความเข้าใจกฎการเล่นที่นี่ ไม่ใช่ว่าลงทุนไปแล้ว แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้ามีการกำหนดกฎข้อบังคับใหม่อีก ก็จะไม่ใช่จุดหมายการลงทุนที่เป็นมิตรกับนักลงทุนเลย"

FTA ไทย-สหรัฐ

ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ต้องการเพิ่มการส่งออกของสหรัฐเพื่อสร้างงานให้แก่ชาวอเมริกัน จึงมีแนวคิดเริ่มเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ รวมทั้งประเทศในเอเชีย ส่วนไทยจะพร้อมเจรจา FTA กับสหรัฐหรือไม่นั้น เป็นคำถามที่ต้องถามกับฝ่ายไทยเอง โดยนายจาจาอธิบายว่า หลังจากที่สหรัฐเริ่มเจรจา FTA กับไทยเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งดำเนินการไปอย่างช้า ๆ และยุติลงไปนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าไทยเองยังไม่พร้อมกับเรื่องนี้ ทั้งนี้การค้าเสรีจะส่งผลต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นของทั้งไทยและสหรัฐ ดังนั้นจึงต้องให้ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะเจรจากัน แต่ในระยะยาว เชื่อว่าการค้าเสรีในเขตแปซิฟิกทั้งหมดจะส่งผลดีต่อทั้งสหรัฐและ ทุกประเทศในเอเชีย

และเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจาการค้ากับทั้งกลุ่มอา เซียน โดยขึ้นอยู่กับความตั้งใจของรัฐบาลต่าง ๆ ว่าต้องการเดินไปในแนวทางนั้นหรือไม่ และที่ผ่านมาสหรัฐได้เจรจากับหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และการเจรจาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจข้ามแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership) ที่เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระดับสูงที่สหรัฐต้องการให้ประเทศในเอเชียเข้าร่วม

ขีดความสามารถการแข่งขันของไทย

นาย จาจาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไทยมีอันดับขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีโลกลดลง โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาทางการเมือง และเชื่อมั่นว่าหากไทยสามารถทำให้การเมืองกลับมามีเสถียรภาพ ทุกอย่างก็จะดีขึ้นเพราะองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ไทยมีพร้อมทุกอย่างอยู่แล้ว

อนาคตเมืองไทย

ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยกล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ชี้ทางให้กับผม และควรจะชี้ทางให้กับเราทุกคน ไทยยังคงอยู่ที่นี่ ไทยมีความก้าวหน้า เราได้เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมากมายในอดีต ผมมองในแง่ดีว่าหากมองไปในอนาคต ไทยจะสามารถฝ่าฟันปัญหาความท้าทายทั้งหมดไปได้"


หน้า 2
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02edi01110353&sectionid=0212&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น